Powered By Blogger

ค้นหาบล็อกนี้

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ blog นี้???

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง

เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหว

....การถ่ายภาพเคลื่อนไหวสามารถนำมาใช้ในการถ่ายภาพกีฬา คน สัตว์ วัตถุใดๆ ที่เคลื่อนไหว เทคนิคการถ่ายภาพเคลื่อนไหวเช่นภาพที่จับการเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่งการถ่ายภาพประเภทนี้ สิ่งสำคัญก็คือจะต้องเลือกใช้ความไวชัตเตอร์ให้เหมาะสมเพื่อจับภาพการเคลื่อนไหวให้หยุดนิ่ง การใช้ความไวชัตเตอร์มีปัจจัยสามประการที่ต้องพิจารณาคือ ความเร็วของวัตถุ ระยะทางจากกล้องถึงวัตถุ ทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุวัตถุเคลื่อนที่เร็วใช้ความเร็วชัตเตอร์มากกว่าวัตถุเคลื่อนที่ช้า(ทิศทางเดียวกัน ระยะทางเท่ากัน)วัตถุเคลื่อนที่ระยะใกล้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าวัตถุในระยะไกลออกไป(ความเร็วเท่ากัน ทิศทางเดียวกัน) สำหรับการเคลื่อนที่หากเคลื่อนที่ผ่านหน้ากล้องจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงกว่าทิศทางอื่นๆ ส่วนทิศทางการเคลื่อนที่เข้าหรืออกจากตัวกล้อง สามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ปานกลางถึงต่ำภาพที่แสดงลีลาการเคลื่อนไหวลักษณะของภาพประเภทนี้ จะมีส่วนที่มีความคมชัดกับพร่ามัวรวมอยู่ในภาพ แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวและความเร็วชัตเตอร์ที่ใช้สามารถใช้ได้ค่อนข้างกว้างมาก ขึ้นอยู่กับผู้ถ่ายเองว่าจะต้องการภาพที่คมชัดหรือพร่ามัวมากน้อยแค่ไหนหากใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆความพร่ามัวจะยิ่งมากขึ้นการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ จะทำให้ภาพพร่ามัว แสดงถึงการเคลื่อนไหวของวัตถุ และอาจใช้แฟลชร่วมได้การแพนกล้องหรือการส่ายกล้องตามการเคลื่อนที่ของวัตถุ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่นิยมนำมาใช้ โดยผลของการใช้จะทำให้วัตถุหยุดนิ่ง เช่น ฉากหน้าหรือฉากหลังพร่ามัว ส่วนวัตถุที่มีการเคลื่อนไหวจะคมชัด(ถ้าโฟกัสถูกต้อง) ข้อสำคัญคือจะต้องแพนกล้องตามการเคลื่อนที่จนถึงตำแหน่งที่ต้องการและในขณะกดชัตเตอร์ต้องแพนกล้องตามในขณะที่กล้องบันทึกภาพด้วย เพราะการหยุดการแพนกล้องในขณะกดชัตเตอร์จะทำให้ได้ภาพพร่ามัวเพียงอย่างเดียวการแพนกล้องที่ดี คือ จากซ้ายไปขวา ความเร็วชัตเตอร์ใช้ได้ตั้งแต่ความไวปานกลางถึงต่ำมากนอกจากนี้ยังสามารถใช้เลนส์ซูม ซูมภาพในขณะที่กดชัตเตอร์ ภาพจะมีลักษณะพุ่งเข้าหากล้องแต่จริงๆแล้ววัตถุอยู่กับที่เคล็ดลับนี้ค้นมาจากหนังสือ 108 เทคนิคการสร้าสรรค์ภาพ โดยคุณประสิทธิ์ จันเสรีกรเนื่องมาจากการเปลี่ยนทางยาวโฟกัส และอีกวิธีคือการใช้แฟลชร่วมกับความเร็วชัตเตอร์ต่ำ(1/8วินาที หรือต่ำกว่า)ภาพที่ได้จะมีความคมชัดผสมพร่ามัว

หลักการถ่ายภาพขนาดเล็ก

หลักการถ่ายภาพขนาดเล็ก (Macro)

...."ภาพมาโคร (Macro) หรือภาพโคลสอัพ (Closed Up)หมายถึง การถ่ายภาพตัวแบบอะไรก็ได้ ที่ใกล้ๆเพื่อแสดงให้เห็นรายละเอียดของสิ่งนั้นผมเก็บเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ฝึกการถ่ายภาพมาโครมาเล่าให้ฟังเพื่อให้น้องๆ ได้เก็บนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการฝึกถ่ายภาพได้ง่ายขึ้น และมีวิธีการฝึกมากขึ้นมีรายละเอียดดังนี้..

1.หาตัวแบบที่น่าสนใจ เช่น แมงปอ ที่มีสีสันสวยงาม ผีเสื้อสายพันธ์ที่แปลกตา แมลงที่หน้าตาประหลาดๆ ดอกไม้สวยๆ ใบไม้ที่มีรูปร่างโดดเด่น ฯลฯ
ถ้าตัวแบบแปลกๆหรือแตกต่างออกไปจะทำให้ภาพนั้นดูน่าสนใจมากขึ้น อย่าถ่ายแต่ผีเสื้อในสวนรถไฟ ทั้ง 10 ครั้งเพราะนั่นก็เป็นเพียงผีเสื้อในสวนรถไฟ ครั้งที่ 10 ให้ไปถ่ายที่สวนหลวงร.9 บ้าง นั่นจะทำให้ครั้งที่10 ภาพไม่เหมือนกับครั้งที่ 1-9

2.การวางตำแหน่งตัวแบบ เราต้องวางตัวแบบตามหลักการถ่ายภาพเช่น วางบนจุดตัด 9 ช่อง กฎ 3 ส่วน หรือกฎอื่นๆ
ที่นิยมนำมาใช้ในการถ่ายภาพกฏต่างๆที่นิยมนำมาใช้ คนคิดค้น จะคิดคำนวนมาแล้ว ว่าหากทำตามแบบอย่างจะทำให้ภาพดูดีขึ้น อย่าคิดเอาเอง เพราะเรายังไม่มีประสบการณ์มากพอ ควรนำกฎต่างๆ มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์และตัวแบบที่เราเลือกถ่าย

3.ควบคุมโฟกัสให้ได้
ภาพมาโครยิ่งถ่ายใกล้ จะยิ่งมีระยะชัดลึกน้อยมากการคุมโฟกัสให้แม่นยำ เป็นไปได้ยาก เราต้องฝึกฝน หาอุปกรณ์หรือการเตรียมการที่ดีมาช่วย เช่น ใช้ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆก่อนถ่ายดูเรื่องแสง ดูความไวชัตเตอร์ให้สัมพันธ์กันกับทางยาวโฟกัสตามกฎ 1 :1คิดง่ายๆหากความไวชัตเตอร์ต่ำกว่า 1/100s แล้วถ่ายด้วยมือเปล่า โอกาสที่จะให้ภาพออกมาชัดก็น้อย ถึงน้อยมาก

4.ควบคุมความชัดลึก ภาพมาโครที่สวยๆ อาจต้องการความชัดลึกทั้งภาพ หรือไม่ต้องมีความชัดลึกตลอดทั้งภาพก็ได้ บางทีการเบลอบางส่วนของภาพเหมือนเป็นการปกปิดซ่อนเร้นกลับทำให้น่าติดตาม หรือน่าค้นหายิ่งขึ้นไปอีก การควบคุมความชัดลึกนั้นทำได้ด้วยการปรับรูรับแสง เมื่อปรับรูรับแสงแคบลง(ตัวเลขสูงๆ)จะทำให้ความชัดลึกมากขึ้น ถ้าปรับรูรับแสงกว้าง(ตัวเลขน้อยลง)จะทำให้ชัดตื้นขึ้น

5.กำจัดความรกของฉากหลัง
เราต้องสร้างความโดดเด่นให้ตัวแบบโดยการกำจัดฉากหลังที่ดูรกตาออกไปหาฉากหลังที่อยู่ห่างตัวแบบ แล้วทำให้เบลอทำให้สีทึบขึ้น(ฉากหลังดำ) หรือแทนที่ด้วยสิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น โบเก้สีสันที่แตกต่าง หรือสีสันที่ตัดกันกับตัวแบบ ฯลฯ

6.เสริมมุมมองและองค์ประกอบของภาพ ด้วยการนำส่วนประกอบอื่นในภาพมาใช้เช่น เส้นนำสายตา การใช้โทนสี
ภาพมาโครควรเน้นสีสันสดใสจะทำให้น่าชม(ไม่ใช่ทึมๆแบบมาโครหดหู่) นำสิ่งแวดล้อมมาใช้ให้เป็นประโยชน์(บรรยากาศ เวลา)การใส่กรอบให้ภาพ ฯลฯ

7.แสงเงาและความเปรียบต่างของแสง
หากในภาพมีความสว่าง ความมืด ที่ต่างกันหรือมีเงาอยู่ในภาพ จะทำให้ภาพนั้นดูดีกว่าภาพปกติทั่วไปขึ้นมาทันที

8.หาสถานการณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ถ้าภาพนั้นมีสถานการณ์เข้ามามีส่วนร่วมจะทำภาพน่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น ถ่ายผีเสื้อกำลังผสมพันธ์ซึ่งน่าจะมีความน่าสนใจมากกว่าผีเสื้อตัวเดียวธรรมดา การล่าเหยื่อของแมลงที่เป็นไปตามธรรมชาติจะทำให้ภาพน่าดูน่าติดตามหรือตื่นเต้นมากขึ้น ถ่ายภาพดอกบัวถ้ามีผึ้งมาเกาะหรือบินอยู่ด้วยจะทำให้ดูมีชีวิตชีวามากขึ้น ฯลฯ

9.ถ่ายภาพหลายๆแบบ
ตัวแบบบางชนิดเราอาจมีโอกาสพบเห็นน้อย กว่าจะพบเห็นอีกก็ต้องใช้เวลานานๆอย่างเห็ดแชมเปญ เห็ดถ้วยให้ถ่ายหลายๆแบบ หลายๆมุม หลายๆวิธีการ เช่น ชัดตื้น ชัดลึก มุมก้ม มุมเงย ย้อนแสง ใช้แฟลต เงาดำหรือโครงทึบ ฯลฯชนิดที่ว่าไม่พบเจอกันอีกก็ไม่ต้องเสียดายอีกเลย(เพราะหนำใจแล้ว)

ส่วนเพิ่มเติม
รักในการถ่ายภาพ หากรักหรือมีใจให้ เราจะมีความสุขในการถ่ายภาพและมีความมุ่งมั่นในการถ่ายภาพมากขึ้น แม้จะเหน็ดเหนื่อย แต่ก็มีความสุขมีเรี่ยวแรงในการก้าวเดินไปข้างหน้าต่อไป..อย่าท้อถอย ไม่มีใครเก่งมาแต่กำเนิด เกิดมาแล้วมี S 5 PRO คล้องคอมาด้วยทุกคนทุกคนมีจุดเริ่มต้น จะไปเร็วไปช้า อยู่ที่ความมานะ ขยัน อดทน การทำสิ่งใดบ่อยๆจะนำมาซึ่งความชำนาญ ทำให้มีประสบการณ์ และพร้อมรับมือกับสิ่งที่เราพบเจอสามารถบันทึกเรื่องราว(ที่อาจจะเห็นครั้งเดียวในชีวิต)เหล่านั้นไว้ได้ จงสู้ต่อไปวันหนึ่งเราต้องไปให้ถึงจุดหมาย..

ค้นหาตัวเองให้เจอ พอถ่ายภาพไปได้สักระยะหนึ่ง เราจะรู้ว่าเราชอบถ่ายภาพแนวไหนแล้วก็ฝึกฝนแนวทางนั้นให้ดีที่สุดก่อน ไม่มีใครเก่งทุกด้าน อยู่ที่ความชอบ เวลา โอกาสและความถนัด หากหาแนวทางของตัวเองไม่ได้แล้วเดินไปเรื่อยๆอย่างไม่มีจุดหมายใดๆวันหนึ่งเราก็จะสับสน และรู้สึกเหมือนหลงทาง ไม่รู้จะเลือกไปทางใด และเอาดีไม่ได้สักอย่างจงเลือกทำตามที่เราชอบเราถนัดสักแนวทางหนึ่งก่อน หากมีเวลาค่อยฝึกแนวอื่นให้ดียิ่งขึ้น

อย่าให้เป็นเพียงแค่ความคิด หากคุณดูภาพ แมงปอสุดยอด ที่ถ่ายโดย คนบางปะอินแล้วบอกกับตัวเองว่า โธ่เอ๊ย..มันเป็นภาพง่ายๆ ฉันก็ถ่ายได้ แต่ก็ไม่เคยออกไปถ่ายสักครั้งความคิดก็ยังเป็นแค่ความคิด ไม่ได้เป็นไฟล์ *.jpg ไม่สามารถนำมาโพสท์ได้ ไม่มีใครได้เห็นหากคิดอย่างเดียว คุณก็ไม่มีวันทำแบบนั้นได้ ไม่ว่าจะง่ายเพียงใดก็ตาม เพราะฉะนั้น..จงหยิบกล้องมาไว้ในมือ แบกกะเป๋าขึ้นบ่า แล้วก้าวเดินออกไป..

อย่าทำตามใคร ทุกคนคงมีช่างภาพในดวงใจ แต่ทว่าการก้าวไปให้ถึงเขาคงจะยากทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ วันเวลา และพรสวรรค์ หากวันหนึ่งเราก้าวเดินไปถึงเขา เราก็เป็นเพียงก็อปปี้ของเขาเท่านั้น จงทำในสิ่งที่เราถนัด เป็นตัวของตัวเองให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ สักวันทุกคนอาจรู้จักเราในอีกฐานะหนึ่ง ที่ต่างจากวันนี้..

จงเชื่อมั่นในตนเอง ขอให้คุณเชื่อในสิ่งที่คุณทำ ทุกคนมีพลังสร้างสรรค์ในตัวเอง ซึ่งเป็นสัณชาตญานของมนุษย์อยู่แล้ว อย่าให้ความเชื่ออื่นๆมาทำลายพลังนั้นลงไป หรือเก็บกด-มันไว้ จงเค้นพลังนั้นๆออกมา แต่ละคนต้องมีภาพที่ถ่ายโดยที่ไม่เหมือนภาพของคนอื่นจงภูมิใจกับภาพนั้นๆ เชื่อว่ามันต้องเป็นภาพเดียวในโลก ที่สร้างสรรค์ผลงานโดยตัว
เราเอง..

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักการถ่ายภาพวัตถุชัดให้ฉากหลังเบลอ



หน้าชัดหลังเบลอ ทำไง?


หลาย ๆ ท่านที่ใช้กล้อง compact digital อยากจะถ่ายรูปหน้าชัดหลังเบลอ แต่ทำค่อนข้างยาก จึงขอแนะนำหลักการในการถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอซักนิดครับ
1 ใช้ซูมให้มากที่สุด (อาจใช้มาโครช่วยอีกทาง)
2 ระยะกล้องกับแบบใกล้ที่สุด (ค่อย ๆ เดินเข้าไปหาแบบเพื่อจัดองค์ประกอบภาพ)
3 ระยะระหว่างแบบกับฉากหลังต้องห่างกันให้มากที่สุด4 ใช้ขนาดรูรับแสงให้กว้างที่สุด (เลขน้อย ๆ )
* กรณีใช้โหมดมาโครช่วย ถ้ากล้องอยู่ไกลแบบมากเกินไปจะโฟกัสไม่ได้ต้องเดินเข้าไปจนกล้องสามารถโฟกัสได้
Nice to know : ผู้ผลิตนิยมบอกทางยาวโฟกัสของเลนส์ของกล้องดิจิตอลคอมแพค เป็นค่าทางยาวโฟกัส ที่เทียบเท่ากับของเลนส์กล้องฟิล์ม 35 มม. เช่น บอกว่าเลนส์มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่า 35-105 มม. ในขณะที่มีค่าทางยาวโฟกัสจริงของเลนส์เท่ากับ 7.1-21.3 มม. (3X) ทั้งนี้เพื่อบอกค่าองศารับภาพที่คนส่วนใหญ่คุ้นเคยอยู่แล้วกับเลนส์ของกล้องฟิล์ม 35 มม. จะทำให้ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่า แต่เมื่อพิจารณาค่าช่วงระยะชัด (depth of field) คงต้องถือตามค่าทางยาวโฟกัสจริงของเลนส์ ดังนั้นปัญหาที่หลายคนบ่นกันเมื่อใช้กล้องดิจิตอลคอมแพคในการถ่ายภาพบุคคลแล้วฉากหลงไม่เบลอสะใจ เนื่องจากช่วงทางยาวโฟกัสจริงของเลนส์เหล่านี้ จะให้ช่วงระยะชัดที่กว้างมาก แม้จะเป็นช่วงรูรับแสงกว้างสุดก็ตาม ในกรณีนี้เลนส์ที่มีช่วงทางยาวโฟกัสมาก (ช่วงซูมมาก) จะได้เปรียบกว่า โดยเฉพาะเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสจริง ประมาณ 50 มม.
จาก PhotoTech ฉบับที่ 133 หน้า 64

หลักการถ่ายภาพ กลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน (NIGHT LIGHT)
หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงาม จะได้ภาพที่แปลกตา การถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เรา สามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน การถ่ายภาพที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง คือการถ่ายภาพตอนหลังดวงอาทิตย์ตกจนถึงตอนกลางคืน เช่นถ่าย ภาพไฟบนท้องถนน ไฟจากหน้าต่างของโรงแรมใหญ่ ๆ การถ่ายรูปดวงจันทร์วันเพ็ญ หรือการถ่ายภาพ ดอกไม้ไฟและพลุสีสวยสดใสงานรื่นเริงหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงตอนกลางคืน
เทคนิคและการถ่ายภาพตอนกลางคืน
การถ่ายภาพกลางคืนไม่ใช่เรื่องที่ยากเย็นจนเกินไป โดยเฉพาะแสงสีในเมืองนั้น สามารถถ่ายภาพให้ดู สวยงามได้ง่ายๆ เพียงแต่มีกล้องที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ และหาวิธีป้องกันภาพสั่นไหวจากความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ หากถือกล้องด้วยมือ ภาพที่ได้จะเบลอไม่คมชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยลดการ สั่นไหวได้เป็นอย่างดี หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ เช่น 1 วินาที หรือต่ำกว่านั้น ไม่ควรใช้นิ้วกดปุ่ม ชัตเตอร์โดยตรง เพราะเพียงกดชัตเตอร์เบาๆ ก็อาจเกิดการสั่นไหวจนส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความคมชัด ควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบถ่ายภาพหน่วงเวลาก็ได้ กล้องบางรุ่นเลือกหน่วงเวลาช่วงสั้นๆ เช่น 2 หรือ 3 วินาที ทำให้ถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องรอคอยนานเกินไป สำหรับกล้องดิจิตอลเมื่อมีสิ่งรองรับ กล้องที่มั่นคง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูงๆ ควรปรับ ISO ไปที่ต่ำสุด เพื่อให้ภาพที่ได้มี Noise น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย
การถ่ายภาพตอนกลางคืนวัตถุที่ถูกถ่ายก็คือต้นกำเนิดแสงตามท้องถนน
เช่นไฟของรถยนต์ ไฟข้างถนน ไฟจากหน้าต่างของตึกรามบ้านช่องจึงไม่มีการจัดแสงเหมือนตอนถ่ายภาพตอนกลางวัน แต่ก็ควรจัดองค์ ประกอบให้ตำแหน่งดวงไฟต่าง ๆ อยู่ในกรอบของภาพอย่างน่าดู การตั้งหน้ากล้องในการถ่ายภาพตอน กลางคืน ไม่เหมือนตอนกลางวันที่มีค่าถูกต้องเพียงค่าเดียว ค่าการฉายแสงเมื่อถ่ายภาพตอนกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าเราอยากจะแสดงอะไรในภาพถ่าย สุดท้ายถ้าต้องการถ่ายภาพพลุหรือดอกไม้ไฟควรตั้งกล้อง บนสามขา ใช้สายลั่นไกชัตเตอร์ ถ้าถ่ายภาพพลุให้โฟกัสภาพที่ไกลสุดแล้วเปิดหน้ากล้องประมาณ f/8 ใช้เวลา 2-3 วินาทีเป็นต้น ถ้าต้องการจะถ่ายภาพให้เห็นดวงประทีปโคมไฟบนท้องถนนในขณะมี่งาน เฉลิมฉลอง เช่นคืนวันเฉลิมพระชนมพรรษาก็อาจจะเปิดหน้ากล้อง f/16 เวลา 1/2 วินาที ก็อาจจะถ่ายภาพ ติดโดยใช้ฟิล์มความไวสูงแต่ถ้าเปิดหน้ากล้องนาน 4 วินาที ก็จะมีเส้นแสงเนื่องจากไฟหน้ารถยนต์ปรากฏเพิ่มเติม ในภาพดูงามตา ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ตอนกลางคืนอาจใช้เส้นแสงในแนวทะแยงนำไปสู่จุดสำคัญในภาพ และถ้า ถ่ายให้เห็นแสงสะท้อนในน้ำด้วย ก็จะช่วยให้ภาพดูน่าสนใจยิ่งขึ้น สำหรับการถ่ายภาพตอนกลางคืนที่มีการแสดง ดนตรี ท่านควรเลือกใช้ฟิล์มที่มีความไวแสงสูงเช่น 400 หรือ 1000 ไอเอสโอ เลือกใช้เลนส์ที่มี f/2.8 ก็จะสามารถถ่ายภาพโดยใช้มือถือได้โดยไม่ควรใช้แฟลต เพราะแสงแฟลชจะไปทำลายบรรยากาศและแสงสีภายใน ห้องแสดง เป็นต้น ตัวอย่างภาพการแสดงดนตรีภายในห้องที่มีแสงไฟอบอุ่น
การถ่ายภาพในเวลากลางคืนนั้นต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็นดังนี้
1. กล้องถ่ายภาพชนิดที่มีความเร็วชัตเตอร์ B หรือ T
2. ขาตั้งกล้อง
3. สายไกชัตเตอร์
4. นาฬิกาจับเวลา
5. ไฟฉายดวงเล็ก ๆ
6. สมุดบันทึกสำหรับจดรายละเอียด เช่น เวลาในการเปิดหน้ากล้อง
วิธีการถ่ายภาพ
1. ติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้องให้มั่นคง พร้อมติดตั้งสายลั่นชัตเตอร์ให้พร้อม
2. ส่องกล้องหาทิศทางในการถ่ายภาพ ให้ได้มุมที่เหมาะที่สุด
3. คาดคะเน สภาพแสงเพื่อกำหนดเวลา และรูรับแสง (โดยปกติถ้าเป็นไฟตามถนนปกติ จะใช้ประมาณ 5.6หรือ 8)
4. ตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ B ลั่นชัตเตอร์ค้างไว้ให้รถวิ่งผ่านจนเป็นที่พอใจ ประมาณ 10 -60 วินาที หรือถ้าทิ้งช่วงเวลานาน ใช้ผ้าดำคลุมหน้าเลนส์ไว้ก่อนก็ได้
การถ่ายภาพไฟกลางคืน ควรถ่ายเผื่อหลาย ๆ ภาพ โดยใช้เวลาในการบันทึกภาพ และขนาดรูรับแสงต่าง ๆ กัน และจดบันทึกไว้จะดีที่สุด และควรฝึกหัดเป็นประจำเพราะต้องอาศัยความชำนาญอย่างสูงในการถ่ายภาพประเภทนี้
การถ่ายภาพกลางคืน จะใช้โหมดที่ทำให้ การเปิดรับแสงของหน้ากล้อง ช้าลงกว่าเดิม หรือไปเพิ่มส่วน ของความไวแสงของตัวรับแสงให้มากขึ้น ดังนั้นเมื่อเราลอง ปรับการถ่ายรูปมาโหมด ถ่ายกลางคืน จะสังเกต ว่า ภาพที่ อยู่ในจอ จะเคลื่อนไหวเหมือนภาพสโลว์เวลาเราเลื่อนกล้องไประหว่างการเล็งถ่ายภาพ
ดังนั้น ภาพที่ อยู่หน้ากล้อง เวลาที่ถ่ายโหมดกลางคืน ถ้าเป็นวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว ก็ จะเกิดเป็น เส้น ของการเคลื่อนไหว เช่น ถ่ายรูปรถที่กำลังวิ่ง อยู่ตอนกลางคืนด้วย โหมด ถ่ายกลางคืน ไฟหน้า ไฟท้าย จะเป็นเส้น ยาวๆ หรือในทางกลับกัน หาก วัตถุที่เราจะ ถ่ายในโหมดกลางคืน ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว แต่ มือเรา ดันเคลื่อนไหวตัวกล้อง ซะเอง ขณะกด ชัตเตอร์ผลก็คือภาพ จะเป็นเส้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นหลักการถ่ายภาพกลางคืนโดยการใช้โหมดกลางคืนนั้น มีวิธีการดังนี้
1. การปรับ เอ๊กส์โพส ควรปรับ ให้ โอเวอร์ ประมาณ +0.3 ขึ้นไป จน ถึง
1.2 โดย ยิ่งปรับ โอเวอร์มาเท่าไหร่ มือ ต้อง ยิ่งนิ่งขึ้นไปเท่านั้น ถ้าต้องปรับเอ๊กส์โพส เยอะมากๆ ควรใช้ ขาตั้งกล้อง หรือ ที่วาง สำหรับ ถ่ายภาพน่าเหมาะสมกว่า
2. แนะนำให้เลือก อุณหภูมิสี แบบ แสงนีออน
3. ขณะเล็งจะถ่ายรูป พยายามดู ว่า สังเกต เห็น Noise ในหน้าจอหรือไม่ เพราะถ้าเห็น ในขณะ ถ่าย เมื่อนำภาพที่ถ่ายลง คอมพิวเตอร์ ภาพที่ถ่ายมานั้นจะยิ่งมี Noise มากขึ้นอีก
4. สิ่งที่บ่งชี้ได้ ง่ายๆ เลย เรื่อง Noise มากหรือน้อย หาก ถ่ายโหมดกลาง คืน แล้ว เวลากด เล็งโฟกัส หาก สามารถ โฟกัสได้เร็ว โดยที่ เราก็ปรับ เอ๊กส์โพส ไว้เยอะ นั่น หมายถึง รูปนั้น จะ คมชัด และมี Noise ไม่มาก ต่างกับรูปที่เราต้อง ใช้เวลา หาโฟกัส อัตโนมัตินานๆ
5. ข้อ สำคัญ เมื่อกด ชัตเตอร์ลงไป แล้ว ควรจะ นิ่ง อยู่ สัก 1 วินาที ก่อน เปลี่ยน ตำแหน่งกล้อง
6. และสุดท้าย ถ้าไม่มีขาตั้งกล้อง สิ่งที่สำคัญนั้นคือมือต้องนิ่งมากๆ เอา แบบว่าตอนกดชัตเตอร์หยุด หายใจเลยได้ ยิ่งดี

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

หลักการถ่ายภาพทิวทัศน์

การเดินทางท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นสิ่งปราถนาและชื่นชอบของมนุษย์แทบทุกคน การท่องเที่ยวทำให้เราได้พบเห็นสิ่งต่างๆ มากมาย ความสวยงาม ความน่าอัศจรรน์ทำให้เรารู้สึกเบิกบานใจ มีความสุขสดชื่น เป็นการเติมพลังให้กับชีวิตก็ว่าได้ เมื่อมีการท่องเที่ยว กล้องถ่ายภาพก็เป็นสิ่งคู่กัน สำหรับบันทึกภาพความประทับใจในสิ่งที่ได้พบเห็น การถ่ายภาพทิวทัศน์ให้ดูสวยงาม ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยาก แต่เมื่อมีความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ที่เพียงพอ คุณเองก็สามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ให้ดูสวยงามได้ดุจเดียวกับช่างภาพมืออาชีพ

อันดับแรก มาว่ากันเรื่อง กล้องถ่ายภาพและอุปกรณ์เสียก่อน กล้องถ่ายภาพทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นฟิล์มหรือดิจิตอล ไม่ว่าจะเป็นคอมแพคหรือ SLR หากรู้วิธีใช้งานอย่างถูกต้อง แต่มีพื้นฐานการถ่ายภาพที่ดีพอ คุณจะสามารถใช้กล้องที่มีอยู่ แต่บันทึกภาพทิวทัศน์ให้สวยงามได้ไม่ยาก แต่ขอแนะนำให้ใช้กล้อง SLR เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูง ตอบสนองความต้องการในการถ่ายภาพทิวทัศน์ได้ดีกว่ากล้องคอมแพค อาทิ มีอุปกรณ์เสริมเช่น เลนส์มุมกว้างพิเศษ ที่ช่วยให้เก็บภาพได้กว้างไกลเท่าที่ใจต้องการ หรือมีฟิลเตอร์สร้างสรรค์ภาพให้เลือกใช้หลายอย่าง เป็นต้น
การถ่ายภาพทิวทัศน์ให้ดูสวยงามไม่จำเป็นต้องใช้กล้องโปรหากเป็นกล้องฟิล์ม แต่สำหรับกล้องดิจิตอล SLR คุณภาพของไฟล์ ขนาดไฟล์ และการบันทึกรายละเอียดต่างๆ กล้องรุ่นโปรย่อมทำได้ดีกว่าเป็นเรื่องธรรมดา ขนาดไฟล์ที่ใหญ่ขึ้น ทำให้ขยายภาพขนาดใหญ่ได้ดีกว่า แต่อย่าลืมว่าบรรดากล้องโปรเหล่านั้น นอกจากมีราคาสูงแล้ว ยังมีขนาดใหญ่ และน้ำหนักมาก เป็นภาระในการนำติดตัวเดินทางท่องเที่ยวไปตามที่ต่างๆ



เลนส์ การถ่ายภาพทิวทัศน์ที่กว้างไกล ส่วนใหญ่ต้องใช้เลนส์ที่มีมุมรับภาพกว้างกว่าที่ตาของเรามองเห็น นั่นก็คือ เลนส์มุมกว้าง (ตาของมนุษย์มีมุมรับภาพเทียบเท่ากับเลนส์ขนาด 50 มม. ของกล้องฟิล์ม 35 มม. หรือกล้องที่ใช้เซ็นเซอร์ฟูลเฟรม) เช่น เลนส์มุมกว้าง 24 มม., 20 มม. ยิ่งกว้างมากเท่าไหร่ก็จะให้ภาพได้กว้างไกลมากขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้เลนส์มุมกว้างยังมีคุณสมบัติชัดลึก ได้ภาพที่คมชัดตั้งแต่ใกล้สุดไปถึงไกลสุด ยิ่งเลนส์มุมกว้างมากขึ้นเท่าไหร่ ระยะชัดลึกก็จะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ (เมื่อใช้รูรับแสงเท่ากัน) อย่างไรก็ตามเลนส์มุมกว้างจะทำให้วัตถุเหมือนอยู่ห่างไกลออกมากมากขึ้น ส่วนสิ่งที่อยู่ใกล้จะดูมีขนาดใหญ่กว่าความเป็นจริง พูดง่ายๆ คือ มิติของภาพต่างไปจากการมองเห็นด้วยตาเปล่า บางครั้งภาพที่ตามองเห็นว่าสวย อาจจะกลายเป็นภาพที่ไม่สวยก็เป็นได้ เพราะมิติภาพที่เปลี่ยนแปลงไป

บ่อยครั้งที่ตามองเห็นว่า ทิวทัศน์เบื้องหน้า ดูแล้วธรรมดาๆ ไม่น่าสนใจ กลับกลายเป็นภาพที่สวยงามอย่างน่าอัศจรรย์เมื่อเปลี่ยนไปใช้เลนส์มุมกว้าง หากคุณมีประสบการณ์ในการใช้เลนส์มุมกว้างมากพอ โดยเฉพาะเลนส์มุมกว้างพิเศษอย่าง 14 มม. หรือเลนส์ตาปลาที่มีมุมรับภาพกว้างมากถึง 180 องศา คุณจะค้นหามุมมองที่ดูแปลกตาและน่าสนใจได้ไม่ยาก สิ่งที่พิเศษอีกประการหนึ่งของเลนส์มุมกว้างคือ ช่วยให้เราสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องภาพเบลอ เช่น เลนส์ 14 มม. สามารถใช้ความ เร็วชัตเตอร์ 1/15 วินาที ถ่ายภาพให้คมชัดได้โดยไม่ต้องใช้ขาตั้งกล้อง แต่นั่นหมายถึงว่า คุณจะต้องเปิดรูรับแสงกว้างซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้คุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร กรณีที่แสงน้อยแทนที่จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ และถือกล้องด้วยมือ ขอแนะนำให้ใช้รูรับแสงแคบเช่น f/11 แล้วใช้ขาตั้งกล้องช่วยลดการสั่นไหว ทำให้ได้ภาพที่คมชัดและคุณภาพที่ดีกว่า แต่ถ้าได้กล้องหรือเลนส์ที่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว คุณก็สามารถันทึกภาพได้ง่ายขึ้น ไม่ต้องพกพาขาตั้งกล้องให้ลำบาก

การถ่ายภาพทิวทัศน์ ไม่จำเป็นเสมอไปว่าจะต้องใช้เลนส์มุมกว้าง หากมองดูด้วยตาเปล่าแล้วเห็นว่า ทิวทัศน์นั้นสวยงาม มีมิติภาพใกล้ไกลที่ดูลง ตัวพอดี หากเป็นแบบนี้ขอแนะนำให้ใช้เลนส์มาตรฐาน 50 มม. หรือใกล้เคียง จะได้มิติภาพที่ใกล้กับการมองดูด้วยตาเปล่า แต่บ่อยครั้งที่ทิวทัศน์ดูไม่สวยเพราะมีฉากหน้าที่รกรุงรังเช่น มีต้นไม้ กิ่งไม้บดบังอยู่ หรือมีเสาไฟ สายไฟ อาคาร สิ่งก่อนสร้างอื่นๆ มีจุดที่สวยงามเพียงบางส่วนเท่านั้น กรณีเช่นนี้ จำเป็น ต้องใช้เลนส์เทเลโฟโต้ (ที่มีทางยาวโฟกัสมากกว่า 50 มม.) เพื่อเลือกถ่ายภาพเฉพาะบางส่วน ทำให้ได้ภาพที่ สวยงามได้เช่นกัน เลนส์ที่เหมาะสมคือซูม 70-200 มม. ส่วนเลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสมาก โอกาสใช้จะน้อยมาก เพราะมุมรับภาพที่แคบมากนั่นเอง

ขาตั้งกล้อง เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ ขาตั้งกล้องที่แข็งแรงมั่นคง จะรับประกันได้ว่า ภาพถ่ายทิวทัศน์ของคุณจะคมชัดแน่นอน หากขาตั้งไม่แข็งแรงเพียงพอเมื่อเทียบกับขนาดและน้ำหนักของตัวกล้อง จะทำให้ภาพขาดความคมชัดโดยเฉพาะเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ นอกจากนี้แม้ว่ากล้องจะอยู่บนขาตั้ง แต่การสั่นสะเทือนของกระจกสะท้อนภาพที่ดีดตัวขึ้นลงขณะกดชัตเตอร์บันทึกภาพ ก็ส่งผลให้ภาพขาดความคมชัดได้เช่นกัน จึงควรใช้ สายลั่นชัตเตอร์ ควบคู่กับการใช้ ขาตั้งกล้อง หากไม่มีสายลั่นชัตเตอร์ให้ใช้ระบบตั้งเวลาบันทึกภาพอัตโนมัติ ซึ่งกล้องหลายๆ รุ่น จะเลือกหน่วงเวลาบันทึกภาพ 2 วินาทีได้ ไม่จำเป็นต้องรอนาน 10 วินาทีเหมือนกับการตั้งเวลาเพื่อบันทึกภาพตนเอง และถ้าชัตเตอร์ต่ำมากเช่น 1/2 หรือ 1 วินาที การ ล็อคกระจกสะท้อนภาพ ก็มีส่วนช่วยให้ได้ภาพที่คมชัดเช่นกัน นอกจากนี้การตั้งกล้องบนขาตั้งยังช่วยให้มีสมาธิในการถ่ายภาพมากขึ้น ไม่ต้องกังวลกับเรื่องน้ำหนักกล้องที่ต้องถือด้วยมือตลอดเวลา และขาตั้งยังมีส่วนสำคัญอื่นๆ อีกหลายอย่างเช่น การจัดภาพไม่ให้ภาพเอียง หรือการถ่ายภาพแนวยาวแบบพาโนรามา เป็นต้น ในกรณีที่ไม่สะดวกในการใช้ขาตั้งกล้องแบบ 3 ขา คุณอาจจะเลือกใช้ขาตั้งเดี่ยว หรือโมโนพอดก็ได้ อย่างน้อยก็ทำให้การถ่ายภาพด้วยความ เร็วชัตเตอร์ต่ำๆ ได้ความคมชัดดีกว่าการถือกล้องถ่ายภาพด้วยมือเปล่า



อุปกรณ์อื่นๆ ที่จำเป็นในการถ่ายภาพที่ผมต้องขอแนะนำเช่น ฟิลเตอร์ C-PL หรือโพราไรซ์ ฟิลเตอร์ชนิดนี้จะมีสองชั้น ทางด้านหน้าจะปรับหมุนได้ เมื่อสวมฟิลเตอร์ที่หน้าเลนส์ ปรับหมุนฟิลเตอร์ แล้วดูผลในช่องมองภาพ คุณจะเห็นว่า บริเวณที่เป็นแสงสะท้อนจากวัตถุที่ไม่ใช่โลหะ เช่น ไม้ ก้อนหิน ใบไม้ กระจก หรืออื่นๆ แสงสะท้อนจะหายไป ทำให้ภาพที่ได้มีสีสันอิ่มตัวและสวยงามมากขึ้นทันที (แต่จะไม่ได้ผลหากไม่มีแสงสะท้อนที่วัตถุ) หากใช้ฟิลเตอร์ C-PL กับการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีท้องฟ้าสีฟ้า จะทำให้ท้องฟ้ามีสีเข้มขึ้น หรือภาพวิวทะเล แสงสะท้อนที่ผิวน้ำทะเลจะลดลง ทำให้ทะเลมีสีสันที่สวยงามมากขึ้น ข้อเสียของฟิลเตอร์ C-PL คือ ปริมาณแสงจะลดลง 2 สตอป ส่งผลให้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง หรือต้องเปิดรูรับแสงกว้างขึ้น รวมทั้งคุณภาพจะลดลงบ้างขึ้นอยู่กับคุณภาพและการเคลือบผิวที่ฟิลเตอร์ ส่วนฟิลเตอร์อื่นๆ ที่จำเป็นเช่น ฟิลเตอร์ ND สำหรับลดลง เพื่อให้ได้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ สำหรับถ่ายภาพบางอย่างเช่น ภาพน้ำตก ที่ต้องการความเร็วชัตเตอร์ต่ำ เป็นต้น หรือ ฟิลเตอร์กราดูเอท ส่วนบนสีเทาหรือสีอื่นๆ ส่วนล่างใสไม่มีสี ช่วยลดแสงส่วนที่เป็นท้องฟ้า ทำให้ภาพมีค่าแสงเฉลี่ยใกล้เคียงกันระหว่างส่วนบนและส่วนล่าง เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสภาพแสงที่แตกต่างกันมาก เช่น ภาพทิวทัศน์ขณะพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก หากต้องการถ่ายภาพฟอร์แมท RAW และกล้องมีความละเอียดสูง คุณอาจจะจำเป็นต้องใช้เมมโมรี่การ์ดที่มีความจุสูง หรืออุปกรณ์สำรองไฟล์ภาพ ที่มีฮาร์ดดิสก์ความจุสูงเช่น 160 หรือ 250 GB และอย่าลืมแบตเตอรี่สำรอง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะถ่ายภาพได้โดยไม่มีปัญหาเรื่องแบตเตอรี่หมด ส่วนกระเป๋ากล้อง ควรเลือกชนิดที่ตัดเย็บ อย่างดี ทนทาน ที่สำคัญคือกันน้ำได้ ถ้าเป็นแบบเป้สะพายหลังก็จะสะดวกคล่องตัวมากยิ่งขึ้น



เทคนิคการวัดแสง เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแต่ต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเสริมเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามและสมบูรณ์ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือ เรื่องการวัดแสง ทำอย่างไรให้ภาพได้รับปริมาณแสงที่พอดี ไม่มาก และไม่น้อยเกินไป โดยทั่วไปต้องการให้ภาพมีความสว่างและชัดเจนใกล้เคียงกับการมองดูด้วยตาเปล่า แต่ในสภาพแสงและสภาพแวดล้อมบางอย่าง จำเป็นต้องวัดแสงให้สว่างหรือมืดกว่าค่าแสงที่กล้องระบุไว้ เรียกว่า การชดเชยแสง เช่น การถ่ายภาพทิวทัศน์ชายทะเลที่มีชายหาดสีขาว ถ่ายภาพทิวทัศน์ทะเลหมอกจากยอดดอย หรือภาพย้อนแสงขณะพระอาทิตย์ขึ้นหรือตก เป็นต้น ซึ่งเทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์เหล่านี้จะได้กล่าวถึงต่อไป ลำดับต่อมาคือ การควบคุมระยะชัดลึก ตั้งแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ที่สุด ไปจนถึงไกลสุด (อินฟินิตี้) โดยสิ่งที่มีผลเกี่ยวกับระยะชัดลึกคือ รูรับแสง หากเปิดรูรับแสงกว้าง เช่น f/2.8 หรือ f/4 ระยะชัดลึกก็จะน้อย แต่ถ้าเปิดรูรับแสงแคบ เช่น f/16 หรือ f/22 ระยะชัดลึกก็จะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทางยาวโฟกัสของเลนส์ด้วยตามที่ได้กล่าวไปแล้วในเรื่องของเลนส์



หากใช้เลนส์มุมกว้างมากๆ เช่น 14 หรือ 18 มม. ไม่จำเป็นต้องใช้รูรับแสงแคบสุดของเลนส์ การใช้รูรับแสง f/11 หรือ f/16 ก็จะได้ระยะชัดลึกตั้งแต่ใกล้สุดเพียง 1-2 เมตร ไปจนถึงไกลสุด อย่าลืมว่า ยิ่งใช้รูรับแสงแคบมากเท่าใด ความ เร็วชัตเตอร์ก็จะลดต่ำลง ตามลำดับ และความเร็วชัตเตอร์ต่ำก็อาจจะส่งผลในเรื่องของความคมชัดได้ อีกประการหนึ่งคือ เลนส์ส่วนใหญ่ คุณภาพความคมชัดจะดีที่สุด เมื่อใช้ รูรับแสงกลางๆ เช่น f/8 หรือ f/11 การใช้รูรับแสงแคบสุด แม้ว่าจะได้ระยะชัดลึกมาก แต่ความคมชัดก็จะลดลงตามไปด้วย จึงควรใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น เช่น ใช้รูรับแสง f/11 แล้วปรากฏว่าภาพคมชัดตั้งแต่ไกลสุดจนถึงใกล้สุดประมาณ 5 เมตร สิ่งที่อยู่ใกล้มากกว่านั้นไม่คมชัด แบบนี้ต้องปรับรูรับแสงให้เล็กลงอีก 1 สตอป เป็น f/16 แล้วลองถ่ายภาพตรวจสอบระยะชัดลึกของภาพใหม่ มีเคล็ดลับง่ายๆ อย่างหนึ่งในการควบคุมระยะชัดลึกคือ ให้เลือกจุดโฟกัสตรงกลางระหว่างวัตถุที่อยู่ใกล้สุดจนถึงไกลสุด เนื่องจากระยะชัดลึกจะเพิ่มขึ้นมาทางด้านหน้าและไปทางด้านหลังจากจุดโฟกัสนั่นเอง





จัดองค์ประกอบภาพ



ภาพทิวทัศน์จะดูสวยงามได้ จำเป็นต้องอาศัยการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งมีส่วนสำคัญอย่างมาก การมองดูด้วยตาเปล่าเราจะเห็นทิวทัศน์ที่กว้างไกล แต่เมื่อปรากฏเป็นภาพถ่าย จากเห็นเฉพาะส่วนที่เราเลือกเอาไว้เท่านั้น อาจจะเป็นมุมภาพจากเลนส์มุมกว้าง เลนส์มาตรฐาน หรือเลนส์เทเลโฟโต้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของภาพที่ต้องการ อย่างไรก็ตามการจัดองค์ประกอบภาพให้ดูสวยงาม มีหลักการพื้นฐานที่คุณจำเป็นต้องทราบ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการถ่ายภาพต่อไป
จุดตัดเก้าช่อง นี่คือหลักพื้นฐานเบื้องต้นในการจัดองค์ประกอบภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาพวาด หรือภาพถ่าย ล้วนอาศัยหลักเดียวกันนี้ในการจัดองค์ประกอบภาพ สำหรับการวางจุดเด่นหรือจุดสำคัญที่ต้องการสื่อให้เห็น หากเป็นนักถ่ายภาพมือใหม่มักจะเลือกวางตำแหน่งของจุดเด่นไว้กลางภาพ เช่น ถ่ายภาพต้นไม้หนึ่งต้น ก็จะให้ต้นไม้อยู่กลางภาพ ภาพในลักษณะนี้จะดูน่าสนใจเพียงชั่วครู่เท่านั้น หากต้อง การให้ภาพน่าสนใจและดูได้นานๆ ควรอาศัยหลักจุดตัดเก้าช่อง โดยแบ่งภาพแนวตั้งและแนวนอนออกเป็น 9 ส่วน จุดที่เส้นตัดกันซึ่งมีอยู่ 4 จุด คือ ตำแหน่งที่เหมาะสมในการจุดวางจุดเด่น โดยมีองค์ประกอบอื่นๆ เข้ามาเสริม
บทสุดท้าย การถ่ายภาพภาพทิวทัศน์นอกจากต้องมีความรู้ ความเข้า ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว การหมั่นฝึกฝนอยู่เป็นประจำ การชมภาพบ่อยๆ ไม่ว่าจากหนังสือ หรือทางอินเตอร์เน็ต จะเป็นการเพิ่มพูนทักษะในการถ่ายภาพทิวทัศน์ของคุณให้ดียิ่งขึ้นจนสามารถถ่ายภาพให้ดูสวยงามได้เช่นเดียวกับช่างภาพมือโปร






หลักการถ่ายภาพบุคคล

ถ่ายภาพย้อนแสง
หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้นผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยากครับ
Window light
การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคลให้มีความแตกต่าง ในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไร หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงก็ได้ ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแปลกตาและน่าค้นหามากขึ้น


ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น
ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อนข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้บ่อย การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ่ายได้พอๆกัน เราควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่ายภาพเขา ถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูงครับ บางครั้งเราอาจต้องพูดคุยไปถ่ายไปและคอยจับกริยาท่าทางของเขาและก็ค่อยๆถ่ายไป แน่นอนครับในหลายๆครั้งเราต้องรอจับจังหวะถ่ายเอาเอง เพราะการจะบอกให้เขาทำท่าตามที่เราต้องการนั้นบางครั้งจะทำให้เขาเกร็งได้ครับ อย่างภาพตัวอย่างนี้ผมถ่ายภาพ “แป๊ะหลี” ซึ่งเป็นพ่อค้าขายกาแฟคนดังแห่งตลาดคลองสวนครับ ก็ต้องอาศัยเข้าไปนั่งพูดคุยกันอยู่สักพักถึงจะได้รูปดีๆมาครับ



สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน
เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายและตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกันแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก


อย่าตัดบริเวณข้อต่อ
หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณข้อต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้นอาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า




โฟกัสที่ตา
หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและแสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดูเหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยังสามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก


การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์
ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของเราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ ใน Tips&Trick ฉบับที่แล้ว เราพูดถึงการวางจุดสนใจในภาพซึ่งเราสามารถนำหลักการนั้นมาใช้งานร่วมกับการถ่ายภาพบุคคลได้เช่นกัน โดยให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง (ดูรายละเอียดจุดตัด 9 ช่องได้ใน Tips ฉบับก่อน) จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ อีกวิธีการหนึ่งก็คือถ้าหากว่าเราต้องการถ่ายร่วมกับตึกหรือสิ่งที่มีลักษณะเป็นทรงตั้ง ให้เราจัดองค์ประกอบภาพเหมือนกับเป็นการถ่ายภาพคู่ก็ได้โดยให้จินตนาการว่าสถานที่นั้นๆเป็นคนอีกคนหนึ่ง ดังรูปที่สองด้านล่างที่เป็นคนถ่ายคู่กับโดมของธรรมศาสตร์







หลักการจัดองค์ประกอบภาพ

การจัดองค์ประกอบภาพเบื้องต้น
การถ่ายภาพนั้นไม่ใช่เพียงแค่การยกกล้องมากดถ่ายภาพเท่านั้น แต่มันยังมีเรื่องราวของศิลปะแฝงอยู่ภายในมากมายซึ่งแน่นอนอันดับแรกเราต้องเรียนรู้ที่จะควบคุมกล้อง ควบคุมแสงสีต่างๆ ตลอดจนรวมไปถึงความไวชัตเตอร์และรูรับแสง แต่เพียงเท่านั้นยังไม่เพียงพอที่จะสร้างภาพถ่ายที่สวยงามได้ การควบคุมกล้องให้ได้อย่างใจนั้นเป็นเรื่องพื้นฐานที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกและเมื่อเรามีความชำนาญที่มากพอแล้วนั้น ก็ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งไม่ว่าเราจะใช้กล้องแบบใดก็ตามจะเป็น Cybershot หรือว่า Alpha สิ่งนี้ก็ยังเป็นสิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันได้ตลอด สิ่งที่เรากำลังพูดถึงนั้นก็คือ “การจัดองค์ประกอบภาพ”

กฎสามส่วน
กฎนี้เป็นกฎง่ายๆของการจัดองค์ประกอบภาพสำหรบการถ่ายภาพ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วในการถ่ายภาพทิวทัศน์นั้นเรามักชอบที่จะวางเส้นขอบฟ้าเอาไว้ตรงกลางภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วเรามีวิธีที่จะวางเส้นขอบฟ้าไว้ที่อื่นเพื่อที่จะทำให้ภาพนั้นน่าสนใจมากขึ้นได้ ซึ่งโดยหลักการแล้วนั้นให้เราทำการแบ่งพื้นที่ในภาพออกเป็นสามส่วน บน กลาง และด้านล่าง จากนั้นให้วางเส้นขอบฟ้าค่อนไปทางด้านบนหรือด้านล่างก็ได้ ให้ท้องฟ้ากินพื้นที่ 1 หรือ 2 ส่วนก็ได้แล้วแต่สถานะการณ์ ซึ่งเราจะได้ภาพลักษณะที่เป็นดินสองส่วนฟ้าหนึ่งส่วน หรือฟ้าสองส่วนดินหนึ่งส่วนก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้ภาพที่น่าสนใจกว่าการแบ่งภาพแบบครึ่งๆ


จุดตัด 9 ช่อง
สำหรับภาพที่มีจุดสนใจในภาพนั้น โดยปกติแล้วเรามักจะวางจุดสนใจกันเอาไว้กลางภาพ ซึ่งในหลายๆครั้งจุดสนใจนั้นจะถูกลดความน่าสนใจลงไปเนื่องจากโดยส่วนอื่นๆบริเวณรอบข้างดึงความสนใจไป เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้กฎที่เรียกว่า “จุดตัด 9 ช่อง” โดยให้ทำการแบ่งภาพทั้งหมดเป็น 9 ช่อง แล้วเลือกวางจุดสนใจในบริเวณที่เป็นจุดที่เส้นแบ่งนั้นตัดกันซึงจะมีทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน การวางจุดสนใจในภาพไว้ในลักษณะนี้นั้นจะทำให้จุดสนใจในภาพนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นดังภาพด้านล่าง




เส้นนำสายตา
ในบางครั้งการวางจุดสนใจในภาพอาจไม่ได้วางตามจุดตัด 9 ช่องก็ได้ แต่เราจะมีวิธีอื่นที่สร้างให้จุดนั้นๆกลายเป็นจุดสนใจในภาพได้โดยการ ใช้เส้นนำสายตาซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์เราเห็นเส้นอะไรสักอย่างมักจะมองตามไปเสมอ และการมองตามเส้นนั้นๆไปจะดึงให้สายตาของผู้มองนั้นมองตามไปจนเจอกับจุดสนใจในภาพที่เราวางไว้ เส้นนำสายตานั้นจะเป็นอะไรก็ได้ในภาพที่มีลักษณะเป็นเส้น เช่น ถนน ขอบรั้ว หรืออะไรก็ได้ไม่จำกัดขอให้มีลักษณะเป็นเส้น และให้เส้นเหล่านั้นชี้ไปยังจุดสนใจที่เราได้ทำการวางเอาไว้ จะทำให้จุดสนใจในภาพที่เราวางเอาไว้เด่นขึ้นมาในทันที




การเหลือพื้นที่
ในหลายๆครั้งนั้นเราจะพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นทีส่วนอื่นๆในภาพว่าเราควรจะเหลือส่วนไหนอย่างไรดี หลักการนี้ก็เป็นหลักการง่ายๆโดยให้เราทำการเหลือพื้นที่ด้านเดียวกับจุดสนใจในภาพเพื่อให้คนดูภาพไม่รู้สึกอึดอัด เช่นถ้าหากหน้าคน รถ หรือว่าอะไรก็ตามหันไปทางไหนให้เราเหลือพื้นที่บริเวณนั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หลักการนี้เป็นหลักการง่ายๆที่ทำให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าหากภาพนั้นต้องการสื่อถึงอารมณ์ให้รู้สึกอึดอัดก็ไม่จำเป็นต้องเหลือพื้นที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการบอกอะไรคนดู


ใส่กรอบให้กับภาพ
หลักการนี้เป็นหลักการสร้างจุดสนใจให้กับภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยให้เราหารอบประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นกรอบอาจจะสองด้านหรือว่าสี่ด้านก็ได้ แล้วจากนั้นก็นำจุดสนใจในภาพไปใส่ไว้ในกรอบนั้นๆ ผู้ชมภาพจะถูกบีบด้วยกรอบที่ซ้อนอยู่ในภาพให้มองไปยังจุดสนใจที่เราวางเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นอีกทางหนึ่งได้






ทุกๆอย่างที่กล่าวไปนั้นเป็นแนวทางเบื้องต้นในการสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้น่าสนใจมากขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องทำตามเสมอไปก็ได้ ถ่ายในสิ่งที่คุณอยากถ่ายเพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่คุณอยากบอกขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการบอกเล่าอะไร แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเจอปัญหาว่าจะถ่ายอย่างไรดีจะจัดองค์ประกอบภาพอย่างไรดี พวกกฎเกณฑ์ของการถ่ายภาพเบื้องต้นเหล่านี้จะช่วยคุณได้ส่วนหนึ่งในการเป็นแนวทางของการถ่ายภาพ แต่เหนืออื่นใดการถ่ายภาพนั้นขึ้นอยู่กับ “มุมมอง” ของคุณว่าคุณมองเห็นอะไรและอยากบอกเล่าอะไร ขอให้มีความสุขกับการถ่ายภาพครับ


วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

......." อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ

อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ

1. ตัวกล้อง (Body) ทำหน้าที่เป็นห้องมืดป้องกันแสงภายนอกเข้าไปถูกฟิล์มที่บรรจุอยู่ภายในและเป็นที่ยึดส่วนประกอบ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยในการถ่ายรูป

2. เลนส์ (Lens) ทำหน้าที่รับแสงสะท้อนจากวัตถุส่งไปยังฟิล์มที่บรรจุอยู่ในตัวกล้องฟิล์มจะบึนทึกภาพเอาไว้ กล้องบางชนิดสามารถถอด เปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการ เช่น กล้องประเภท SLR (Single len Reflex) หรือเรียกว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว เลนส์จะผนึกอยู่ข้างหน้าตัวกล้องซึ่งจะมีขนาดความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เช่น 50 มม. 35 มม. 105 มม. เป็นต้น

3. ช่องมองภาพ (View Finder) ปกติช่องมองภาพจะอยู่ทางด้านหลังของตัวกล้อง เป็นจอมองภาพเพื่อช่วยในการประกอบ และจัดองค์ประกอบของภาพ ให้มีความสวยงามตามหลักของศิลปะการถ่ายรูป

4. ชัตเตอร์ (Shutter) ทำหน้าที่ควบคุมเวลาฉายแสง (Exposure Time) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไวของชัดเตอร์ (Shutter Speed)

5. แผ่นไดอะแฟรม (Diaphram) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณความเข้มของการส่องสว่างของแสงที่ตกลงบนแผ่นฟิล์ม มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ หลายๆ แผ่นซ้อนเหลี่ยมกันอยู่

6. รูรับแสง (Aperture) เป็นรูเปิดของแผ่นไดอะแฟรมให้มีขนาดต่างๆ ตามต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้แสงเข้ามากก็เปิดรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ และทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการให้ปริมาณแสงเข้าไปถูกฟิล์มน้อยก็เปิดรูให้เล็กลง การเปิดขนาดของรูรับแสงแตกต่างกันนี้มีตัวเลขกำหนดเอาไว้ ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นวงแหวน ซึ่งจะติดอยู่ที่ตัวเลนส์เรียกตัวเลขต่างๆ ว่าเอฟสตอป (F-Stop) หรือ เอฟนัมเบอร์(F-Number) นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญๆ ของกล้องถ่ายรูปดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้ควรจะศึกษาปุ่มปรับและควบคุมต่างๆ ที่อยู่บนกล้องถ่ายรูป กล้องทั่วๆ ไปจะมีปุ่มควบคุมดังนี้คือ

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง
นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญๆ อันเป็นพื้นฐานของกล้องถ่ายรูปแล้วอาจต้องการใช้อุปกรณ์ อื่นๆ ประกอบเพื่อให้ การถ่ายรูปมีคุณภาพยิ่ง อุปกรณ์ต่างๆ มีดังนี้ คือ

1. เครื่องวัดแสง (Exposure light meter) เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกลักษณะของแสงที่พอเหมาะในการถ่ายรูปแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ภาพที่พอดี (Nor-mal) นั่นคือจะบอกหน้ากล้องหรือขนาดของรูรับแสงที่พอเหมาะและความเร็วชัดเตอร์ที่ควรใช้อันสัมพันธ์กับแสงสอดคล้องกับความมุ่งหมายการถ่ายรูปนั้นๆ โดยปกติกล้องถ่ายรูประดับปานกลาง ถึงระดับดี จะมีเครื่องวัดแสงนี้ติดมาพร้อมกับกล้องอย่างไรก็ตามอาจจำเป็นที่ต้องมี เครื่องวัดแสงเฉพาะสำหรับงานบางอย่างก็ได้

2. ขาตั้งกล้อง (Tripod, Camera Supports) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการถ่ายรูปที่ต้องใช้ความไวช้าๆ หรือถ่ายรูปกลางคืนเพราะจะทำให้กล้องมั่นคงได้ภาพที่ไม่ไหวปกติขาตั้งกล้องมีลักษณะ 3 ขา (Tripod) ในบางครั้งอาจใช้ขาเดียว Monopod) รับน้ำหนักก็ได้ หรือมีลักษณะเป็นแท่นรองรับก็สุดแล้วแต่จุดมุ่งหมาย

3. แว่นกรองแสง (Filters) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับเลนส์เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามแตกต่างไปจากภาพปกติในการถ่ายรูปสีแว่นกรองแสงจะช่วยควบคุมแสงแก้ไขสี เพิ่มสีและทำภาพพิเศษอื่นๆ ได้ตามความต้องการในบางชนิด เช่นสกายไลท์ (Skylight) ช่วยป้องกันเลนส์ไม่ให้สกปรกหรือเกิดรอยขีดข่วนได้สำหรับการถ่ายรูปขาวดำ ฟิลเตอร์หรือ แว่นกรองแสงก็จะช่วยในการเน้นจุดสนใจของภาพให้ดียิ่งดีขึ้นซึ่งปกติฟิลเตอร์ที่ใช้กับงานถ่ายรูปขาวมีนิยมอยู่5 สีด้วยกัน คือ สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว

4. สายลั่นไก (Shutter Release Cable) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเข้ากับปุ่มลั่นไกช่วยลั่นไกชัดเตอร์ โดยให้กล้องรับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุดในกรณีที่ตั้งความไวชัดเตอร์ต่ำๆ ปกตินิยมใช้กับการถ่ายรูป วัตถุเล็ก ๆ หรืองานก้อบปี้ ตลอดจนการถ่ายรูปกลางคืน เมื่อจำเป็นต้องใช้ความไวชัดเตอร์ต่ำๆ สายลั่นไก มีความยาวหลายขนาดและบางชนิดอาจมีล็อกเพื่อให้การเปิดหน้ากล้องนานๆ ตามต้องการ

5. ไฟแฟลชอิเลคโทรนิค (Electronic Flash)เป็นอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งของแสงสว่างเพื่อช่วยถ่ายรูป เมื่อแสงไม่พอ เช่น ถ่ายรูปใเวลากลางคืนหรือในห้องที่ไม่ค่อยมีแสงสว่างนอกจากนั้นอาจใช้ไฟแวบนี้ช่วยลดเงาเมื่อถ่ายภายในแสงหลักที่สว่างมากๆ นอกจากนั้นอาจใช้แหล่งแสงสว่างอื่นๆ แทนไฟแวบได้ เช่น ไฟส่อง (Flood) แบบที่ใช้ในห้องถ่ายรูป หรือพวกไฟที่ใช้กับโทรทัศน์ภาพยนตร์ที่เรียกว่าซันกัน (Sun Gun) ก็ได้

6. เลนส์ ฮูด (Lense Hood) เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีแก้วเหมือนเลนส์ชนิดอื่นๆแต่เป็นเพียงกรอบ หรือขอบเพื่อสวมเข้าหน้าเลนส์ เพื่อกันการสะท้อนของแสงหรือแสงส่องเฉียงที่ไม่ต้องการมากระทบผิวหน้าเลนส์เลนส์ฮูดอาจทำด้วยโลหะหรือยางมีขนาดแตกต่างกันตามความยาวโฟกัสของเลนส์และรัศมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ของเลนส์ที่ใช้

7. กระเป๋ากล้อง ( Case) เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะสวมใส่กล้องไว้ตลอด เพราะป้องกันการขูดขีดของตัวกล้อง และเลนส์เป็นอย่างดียิ่งกว่านั้นป้องกันการกระทบกระเทือนได้อีกด้วยกระเป๋ากล้องอาจเป็นหนังชนิดแข็ง

8. เครื่องขับเคลื่อนฟิล์มโดยอัตโนมัติ (Motor Drive,Autowinder) อุปกรณ์ชิ้นนี้อาจไม่จำเป็นในการถ่ายรูปปกติ เพราะมีเวลาในการเลื่อนฟิล์มด้วยตนเอง แต่สำหรับงานอาชีพที่ต้องการบันทึกภาพติดต่อกันในเวลาสั้นๆ ถ้ามัวเคลื่อนฟิล์มอยู่อาจพลาดภาพนั้นๆ ได้ ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์นี้ี่ช่วย ในการเลื่อนฟิล์มโดยอัตโนมัตินี้ โดยผู้ใช้เพียงกดปุ่มถ่ายภาพฟิล์มจะเลื่อนโดยอัตโนมัติบางชนิดจะเลื่อนวินาทีละ 5 ภาพหรือบางชนิดอาจต่ำกว่านั้น

9. กระเป๋าเก็บกล้อง และอุปกรณ์อื่นๆ (Baggage) เป็นกระเป๋าเอนกประสงค์ที่สามารถบรรจุกล้องและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ นำไปใช้ถ่ายรูปได้นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี สามารถเก็บกล้องและรักษาฟิล์มได้ด้วย กระเป๋าบางชนิดอาจทำเป็นกล่องอะลูมิเนียมบุด้วยฟองน้ำกันการกระเทือน บางชนิดทำด้วยผ้าร่มสักหลาดหรือผ้าใบ และบางชนิดยังสามารถป้องกันน้ำเข้าไปในกระเป๋าได้

....." ความหมายของการถ่ายภาพและและประโยชน์การถ่ายภาพ

ความหมายของการถ่ายภาพ
...."การถ่ายภาพมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Photography รากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คำ คือ Phos หมายถึง แสงสว่าง Graphein หมายถึง การเขียน รวมกันจึงหมายถึง "การเขียนด้วยแสงสว่าง"

ความหมายของการถ่ายภาพ มี 2 ประเด็น คือ

1. เชิงวิทยาศาสตร์ หมายถึง การทำปฏิกิริยาระหว่างวัสดุไวแสงกับแสง

2. เชิงศิลปะ หมายถึง การวาดภาพด้วยแสงและเงารวมทั้งการผสมสีเพื่อถ่ายทอดความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ หรือทัศนคติ

สรุป : การถ่ายภาพ คือ การสร้างภาพเพื่อสื่อความหมาย ความรู้สึก อารมณ์ รวมทั้งทัศนคติ โดยใช้กระบวนการที่ปล่อยให้แสงสว่างสะท้อนมาจากวัตถุผ่านเข้าไปกระทบกับวัตถุไวแสง แล้วจึงนำวัตถุไวแสงไปผ่านกระบวนการสร้างภาพให้ปรากฏ

ประวัติความเป็นมา

...."หากกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของการถ่ายภาพจากอดีตถึงปัจจุบัน เราสามารถสรุปได้ว่าการถ่ายภาพมีวิวัฒนาการมาจากศาสตร์ 2 สาขา คือ ฟิสิกส์ และ เคมี โดยในครั้งแรกสุดเริ่มจากสาขาฟิสิกส์ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราช จากหลักฐานที่อริสโตเติล บันทึกไว้ว่า ถ้าเราปล่อยให้แสงผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆ ในห้องมืดแล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซม. จะปรากฏภาพบนกระดาษ มีลักษณะเป็นภาพจริงหัวกลับ แต่เป็นภาพที่ไม่ชัดเจนนักจากหลักการจึงได้มีการประดิษฐ์กล้องรูเข็ม และพัฒนาเป็น กล้องออบสคิวรา (Camera Obscura) ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลว่า ห้องมืด

ค.ศ. 15501573 มีการพัฒนากล้องออบสคิวราให้มีประสิทธิภาพขึ้นโดยการนำเลนส์นูนใส่ในช่องรับแสงเพื่อ ทำให้ภาพสว่างขึ้น มีการประดิษฐ์ม่านบังคับแสง(Diaphragm) เพิ่มเติมในกล้อง ทำให้ภาพชัดขึ้น และใช้กระจกเว้าเพื่อให้ได้ภาพหัวตั้ง

ค.ศ. 1676Johann Sturm ประดิษฐ์กล้องรีเฟลกซ์ (Reflex Camera) กล้องแรกของโลก โดยใช้กระจกเงาวางตั้งมุม 45 องศา เพื่อสะท้อนภาพให้สะดวกแก่การมองภาพ

ค.ศ. 1727-1777 ช่วงนี้ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสาขาเคมี โดย Johann Heinrich Schulze ชาวเยอรมัน พบว่าสารผสมของชอล์กกับเกลือเงินไนเตรทเมื่อถูกแสงแล้วจะทำให้เกิดภาพสีดำ และ Carl William Scheele ชาวสวีเดน พบว่าแสงสีน้ำเงินและสีม่วงของ positive มีผลทำให้เกลือเงินไนเตรทและเกลือเงินคลอไรด์ เปลี่ยนเป็นสีดำได้มากกว่าแสงสีแดง

ค.ศ. 1826-1840 เป็นช่วงของบุคคลสำคัญ 3 ท่าน คือ

· เนียพซ์ (Niepce) - ผู้ถ่ายภาพ (ถาวร) ภาพแรกของโลก

· ดาแกร์ (Daguerre) - ผู้คิดค้นระบบดาแกร์ไทพ์ ที่ได้รับความนิยมและแพร่หลาย

· ทัลบอท (Talbot) – ผู้คิดค้นระบบถ่ายภาพที่เป็นต้นกำเนิดของระบบฟิล์มในปัจจุบัน

ค.ศ. 1851-1878

มีการคิดค้นกระบวนการเพลทเปียก (Wet Plate) กระบวนการ เพลทแห้ง (Dry Plate) และแพนโครแมติคเพลท (Panchromatic Plate) ต่อมาได้มีการปรับปรุงเพลทแห้งให้มีความไวแสงสูงขึ้น สามารถถ่ายภาพโดยใช้ความเร็ว ชัตเตอร์ 1/25 วินาทีได้ ซึ่งใช้เวลารับแสงเร็วกว่าเดิมถึง 50-60 เท่า ค.ศ. 1888George Eastman ชาวอเมริกัน ได้ผลิตกล้องบ๊อกซ์ โกดัก (Kodak Box Camera) ออกจำหน่ายโดยใช้ฟิล์มกระดาษฉาบน้ำยาม้วนยาวบรรจุในกล้องถ่ายภาพ สามารถถ่ายได้ 100 ภาพติดกัน เมื่อถ่ายแล้วต้องส่งไปล้างฟิล์มและอัดภาพที่บริษัท ทำให้มี ผู้นิยมใช้มาก ต่อมาได้พัฒนาฟิล์มเป็นวัตถุโปร่งใสแทนกระดาษซึ่งนับเป็นก้าวสำคัญในการผลิตฟิล์มสมัยต่อมา

การถ่ายภาพในเมืองไทยยุคแรก

หนังสือ "สยามประเภท" ฉบับวันที่ 11 เม.ย. 2444 บันทึกไว้ว่า การถ่ายภาพเริ่มเข้ามาในเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยพระยาไทรบุรี

ได้ส่ง รูปเจ้าวิลาต (สมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย) ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย แต่พระองค์ไม่ทรงเชื่อว่าเป็นรูปถ่าย ทรงเห็นว่าเป็นเพียงรูปเขียนอย่างแต่

ก่อนมาเท่านั้นปัจจุบันไม่มีผู้ใดพบเห็นภาพดังกล่าว

นอกจากนี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เจ้าของหนังสือเล่มเดียวกัน ยังกล่าวว่าประเทศไทยมีช่างถ่ายรูปคนแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 (พ.ศ.2367-2394) เป็นสังฆราชฝรั่งเศส ชื่อ ปาเลอกัว ส่วนคนไทยที่เป็นช่างถ่ายรูปคนแรกคือ พระยากระสาปน์กิจโกศล หรือนายโหมด ต้นตระกูลอมาตยกุล ซึ่งเป็นศิษย์ของ ปาเลอกัว นั่นเอง

ปาเลอกัว


....ในปัจจุบัน ภาพถ่ายได้เข้ามาเกี่ยวพันในชีวิตประจำวันของมนุษย์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากภาพถ่ายเป็นสื่อที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ข่าวสาร แนวความคิด ความรู้สึกไปยังบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันได้ แม้จะเป็นบุคคลต่างชาติต่างภาษา ทั้งนี้เพราะภาพเป็นภาษาสากล นอกจากนั้นภาพถ่ายยังเป็นสื่อสรรค์สร้างความงดงาม จนเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ภาพถ่ายเป็นศิลปะแขนงหนึ่งอีกด้วย

.....ตามประวัติการสื่อความหมายของมนุษย์ พบว่า มนุษย์รู้จักการใช้ภาพในการติดต่อสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกันและกันได้ก่อนที่มนุษย์ จะรู้จักการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน โยฮัน อมอส คอมินิอุส (Johann Amos Comenius) เป็นบุคคลคนแรกที่ได้นำภาพมาประกอบบทเรียนในหนังสือ Orbis Picture ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนังสือเล่มแรกของโลกที่มีภาพประกอบ จุดประสงค์ก็คือ เพื่อให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพที่เป็นรูปธรรม เข้าใจในเนื้อหาสาระได้ถูกต้อง และรวดเร็วยิ่งขึ้น ดังคำกล่าวที่ว่า ภาพหนึ่งภาพมีความหมายมากกว่าคำพูดหรือการเขียนนับพันคำ

....... " กล้องถ่ายภาพ ;p

...." กล้องถ่ายภา"....

หลักการทำงานของกล้องถ่ายภาพ
...."หลักการทำงานพื้นฐานของกล้องถ่ายภาพคือการที่แสงสะท้อนจากวัตถุ เดินทางเป็นเส้นตรงผ่านช่องเล็กๆของกล่องสี่เหลี่ยม เกิดภาพของวัตถุบนฉากรองรับด้านตรงข้ามเป็นภาพหัวกลับ อันเป็นหลักการของการสร้างกล้องรูเข็มในสมัยโบราน กล้องถ่ายภาพได้พัฒนามาโดยลำดับเช่น มีการนำเอาเลนส์นูนไปติดตั้งที่ช่องรับแสงที่มีขนาดเล็ก เพื่อช่วยรวมแสงให้เข้าไปในตัวกล้องให้มากขึ้น ทางด้านตรงกันข้ามของเลนส์เป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสดุไวแสงหรือฟิลม์ สามารถปรับตัวเลนส์เพื่อให้เกิดภาพที่ชัดเจนบนฟิล์มได้ มีการติดตั้งไดอะแฟรมปรับให้เกิดช่องรับแสงขนาดต่างๆ รวมทั้งมีส่วนที่เรียกว่าชัตเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมเวลาในการเปิด-ปิดม่าน เพื่อให้ปริมาณแสงตกกระทบกับฟิล์มตามความเหมาะสม และยังมีช่องเล็งภาพเพื่อช่วยในการจัดองค์ประกอบของภาพถ่ายให้เกิดความสวย งาม กล้องถ่ายภาพในปัจจุบัน มีการประดิษฐ์รูปแบบให้มีลักษณะภายนอกและกลไกภายใน ให้มีส่วนอำนวยความสะดวกแก่ผู้ถ่ายภาพมากยิ่งขึ้น มีกล้องถ่ายภาพทั้งระบบปรับธรรมดา ระบบกึ่งอัตโนมัติ และระบบอัตโนมัติ
ดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพ

ส่วนประกอบและการทำงาน ของดวงตามนุษย์กับกล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยมีส่วนสำคัญแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ

๑.ส่วนที่ทำให้เกิดภาพ ทั้งดวงตาและกล้องถ่ายภาพจะมีส่วนที่เป็นเลนส์ ในดวงตาของมนุษย์ ก่อนที่แสงจะตกกระทบเลนส์ ต้องผ่านชั้นของเยื่อโปร่งใสเรียกว่าคอร์เนีย(Cornea) ทำหน้าที่ช่วยเลนส์ในการหักเหแสงให้ภาพตกลงบนจอตาพอดี เลนส์ของกล้องถ่ายภาพ มีระบบกลไกเปิด-ปิด ให้แสงผ่านเข้าไปยังฉากหลังควบคุมเวลาด้วยชัตเตอร์(Shutter) ส่วนดวงตาควบคุมด้วยหนังตา(Eyelid) ในส่วนหนึ่งของเลนส์ถ่ายภาพจะมีไดอะเฟรม(Diaphragm) สามารถปรับให้เกิดช่องรับแสง(Aperture) ของขนาดต่างๆ เช่นเดียวกับดวงตาจะมีส่วนที่เรียกว่าม่านตา(Iris) ซึ่งจะมีสีต่างๆ แล้วแต่เชื้อชาติ เช่นสีดำ สีฟ้า สีน้ำตาลเป็นต้น ตรงกลางของม่านตาจะมีช่องกลมเรียกรูม่านตาหรือพิวพิล(Pupil) เป็นทางให้แสงผ่าน สามารถปรับให้มีขนาดต่างฟกันโดยอัตโนมัติ เช่นในที่ๆมีแสงสว่างมากรูม่านตาจะปรับให้มีขนาดเล็ก ส่วนในที่ๆมีแสงสลัวๆ รูม่านตาจะปรับให้มีขนาดกว้างขึ้น

๒.ส่วนที่ไวแสง ได้แก่ส่วนที่เป็นฉากหลังในกล้องถ่ายภาพจะเป็นตำแหน่งที่ตั้งวัสถุไวแสง ได้แก่ฟิล์ม ส่วนในดวงตาได้แก่จอตาเป็นฉากรับภาพ เรียกว่า เรตินา(Ratina) ประกอบด้วยดส้นประสาทไวต่อแสงและเชื่อมโยงไปยังส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับ ความรู้สึกเกี่ยวกับการมองเห็นทำให้ทราบถึงรูปร่าง ขนาด ลักษณะของพื้นผิว

เลนส์(Lens)

..."เลนส์เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกล้องถ่ายภาพ เป็นวัสดุโปร่งใส ทำด้วยแก้วหรือพลาสติค ทำหน้าที่หักเหแสงสะท้อนจากวัตถุ เกิดภาพจริงหัวกลับบนระนาบของฟิล์ม เลนส์ของกล้องถ่ายภาพอาจเป็นเลนส์นูนอันเดียว หรือเป็นชุดของเลนส์ย่อยๆ หลายๆ อันประแอบกันก็ได้ เพื่อให้สามารถปรับการถ่ายภาพได้หลายรูปแบบ แก้วหรือพลาสติกทุกชิ้นที่ประกอบเข้าเป็นเลนส์ ต้องประดิษฐ์ด้วยความประณีต เพื่อให้มีคุณภาพในความคมชัด สามารถแก้ไขการผิดเพี้ยนของสี และการคลาดเคลื่อนของรูปทรงให้ถูกต้อง มีการฉาบน้ำยาเคลือบผิวที่เลนส์ เรียกว่า Coated เพื่อให้เลนส์มีคุณภาพในการรับแสงและช่วยลดแสงสะท้อนให้น้อยลง

ความยาวโฟกัสของเลนส์(Focal length)

..."เลนส์ของกล้องถ่ายภาพจะมีความยาวโฟกัส(Focal length) แตกต่างกัน คำว่า "ความยาวโฟกัสของเลนส์" หมายถึง Ãะยะทางจากจุดศูนย์กลางโฟกัสของเลนส์(Optical center of lens) ถึงระนาบโฟกัสของภาพหรือฟิล์ม เมื่อเลนส์ตั้งระยะความชัดไว้ไกลสุด(Infinity)" ความยาวโฟกัสของเลนส์มักเขียนบอกไว้ที่ของเลนส์ด้านหน้า เช่น F = 50 มม. , F = 35 มม. หรือ F = 28 มม. เป็นต้น ความยาวโฟกัสของเลนส์ที่แตกต่างกัน ¨Ðทำให้มุมในการรับภาพแตกต่างกันด้วย เช่น เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้น F = 28 มม. จะรับภาพได้เป็นมุมกว้างกว่าเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาว F =50 มม. เป็นต้น และนอกจากนั้น ความยาวโฟกัสของเลนส์ยังมีผลต่อช่วงความชัดของภาพ(Depth of field) àลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นจะให้ช่วงความชัดของภาพมากกว่าเลนส์ที่มีความยาว โฟกัสยาว เช่น เลนส์เทเลโฟโต้ เป็นต้น


เลนส์ถ่ายภาพโดยทั่วไปแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภท ตามความยาวโฟกัสคือ
๑.เลนส์ธรรมดาหรือเลนส์มาตรฐาน(Normal lens or Standard lens) การกำหนดความยาวโฟกัสของเลนส์มาตรฐานประจำกล้องแต่ละชนิดจะไม่เหมือนกันเช่น กล้อง 35 มม. ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ไม่ได้ เลนส์จะมีความยาวโฟกัสประมาณ 38-45 มม. ส่วนกล้อง 35 มม. สะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว(SLR) ที่ถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ เลนส์มาตรฐานจะมีความยาวโฟกัสประมาณ 55-58 มม. ซึ่งมีมุมในการรับภาพประมาณ 53 องศา ซึ่งใกล้เคียงกับการมองเห็นของสายตาคนส่วนเลนส์มาตรฐานสำหรับกล้องที่ใช้ ฟิล์มขนาด 120 จะมีความยาวโฟกัสระหว่าง 75 - 90 มม.

๒.เลนส์มุมกว้าง(wide-angle lens) เลนส์มุมกว้างได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นกว่าเลนส์มาตรฐาน เช่นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 35 มม. , 28 มม., 24 มม.,13 มม. เป็นต้น สามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกคือ

๒.๑ เลนส์มุมกว้างธรรมดา(Modurate Wide-angle) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัส ระหว่าง 25-40 มม.

๒.๒เลนส์มุมกว้างมาก รับภาพได้ตรง(Rectilinear super wide) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 15-24 มม.

๒.๓เลนส์มุมกว้างมาก รับภาพบิดโค้ง(Semifish eye super wide) ได้แก่เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 15-24 มม. แต่ภาพที่ได้จะบิดโค้ง

๒.๔เลนส์มุมกว้างพิเศษ รับภาพได้โค้งกลม เช่นเลนส์ตาปลา (Fish eye lens) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นมาก เช่น 6 มม. หรือ 8 มม. เป็นต้น เลนส์มุมกว้างเป็นเลนส์ที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพในสถานที่แคบๆ ซึ่งสามารถรับภาพได้กว้างลึก และกว้างไกล เก็บภาพต่างๆ ได้มากและจะได้ภาพที่มีช่วงความชัดมากกว่าเลนส์ชนิดอื่นๆ แต่สัดส่วนจะผิดเพี้ยน รูปทรงบิดเบี้ยวและโค้งงอ(Distortion) ยิ่งเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสสั้นมากๆ ความผิดเพี้ยนของภาพก็ยิ่งมีมาก เช่นเลนส์ตาปลา ความยาวโฟกัส 8 มม. หรือ 6 มม. ภาพที่ได้จะมีลักษณะเป็นวงกลม ภาพจะมีความบิดเบือนมาก ยกเว้นจุดตรงกลางภาพเท่านั้น


๓.เลนส์ถ่ายไกล(Telephoto lens) เลนส์ถ่ายไกลเป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสยาวกว่าเลนส์มาตรฐาน เช่นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส 135 มม. , 500 มม. , 1000 มม. , 2000 มม. เป็นต้น เลนส์ถ่ายไกลสามารถปรับโฟกัสภาพได้เพียงระยะห่างระยะหนึ่งจากฟิล์มเท่านั้น เป็นเลนส์ที่ประกอบด้วยกลุ่มของชิ้นเลนส์หลายกลุ่มจัดวางเรียงให้เลนส์นูน ที่มีโฟกัสยาวอยู่ข้างหน้าเลนส์เว้าที่มีโฟกัสสั้น ทำให้ได้ภาพถ่ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แม้ว่าวัตถุจะอยู่ห่างไกลมากก็ตาม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการถ่ายวัตถุที่ไม่สามารถเข้าไปใกล้ๆได้ เช่น การถ่ายภาพสัตว์ในป่า ภาพกีฬาบางประเภท ภาพทิวทัศน์ไกลๆ เป็นต้น
เลนส์ถ่ายไกลที่มีความยาวโฟกัสยาวมากจะมีมุมในการรับภาพแคบลง เช่น เลนส์ถ่ายไกล 500 มม. มีมุมในการรับภาพ 5 องศา และเลนส์ถ่ายไกล 1000 มม. มีมุมในการรับภาพเพียง 2.5 องศา เป็นต้น นอกจากมีมุมในการรับภาพแคบแล้ว เลนส์ถ่ายไกลยังมีระยะช่วงความชัดน้อยมากภาพจะดูตื้นแบนมีระยะหลังของภาพ พร่ามัว
เลนส์ถ่ายไกลสามรถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆ ได้อีกคือ

๓.๑เลนส์ถ่ายไกลระยะสั้น (Short telephoto) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 80-135 มม.
๓.๒เลนส์ถ่ายไกลระยะปานกลาง (Medium telephoto) เป็นเลนส์ที่มีความยาวโฟกัสระหว่าง 150-250 มม.
๓.๓เลนส์ถ่ายไกลระยะไกล (Long telephoto) มีความยาวโฟกัสระหว่าง 300-600 มม.
๓.๔เลนส์ถ่ายไกลระยะไกลพิเศษ (Super long telephoto) มีความยาวโฟกัสระหว่าง 800-2000 มม.
นอกจากเลนส์ถ่ายภาพไกลโดยทั่วไปแล้วยังมีเลนส์อีกชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ สำหรับถ่ายไกลเช่นเดียวกัน คือ เลนส์กระจก (Mirror lens) มีความยาวโฟกัส 500 มม. หรืออาจสูงถึง 2000 มม. กระบอกเลนส์มีลักษณะสั้นและกว้าง ประกอบด้วยกระจกโค้ง 2 บาน สะท้อนแสงและขยายภาพผ่านแก้วเลนส์หลายชิ้น เลนส์ชนิดนี้มีเลข เอฟ (f/number) ตายตัวเพียง 1 เลขเอฟ จึงมีข้อจำกัดในการเลือกใช้ฟิล์มและการตั้งความเร็วชัตเตอร์ ราคาก็ค่อนข้างแพง แค่ก็มีข้อดีในเรื่องรูปร่างกระทัดรัด มีความยาวโฟกัสยาวมาก และให้ภาพที่มีความคมชัด
การถ่ายไกลนอกจากใช้เลนส์ทั้ง 2 ชนิดดังกล่าวมาแล้วอาจใช้เทเลพลัส (Teleplus) หรือเทเลคอนเวอเตอร์ (Teleconverter) สวมต่อ ระหว่างเลนส์มาตรฐานกับกล้องถ่ายภาพจะสามารถเพิ่มความยาวโฟกัสของเลนส์เป็น 1.4 เท่า หรือมากกว่า ซึ่งเทเลคอนเวอเตอร์ดังกล่าวจะมีขนาด 1.4X, 2X, 3X หรือ 4X เป็นอุปกรณ์ประกอบชนิดหนึ่งที่มีราคาค่อนข้างถูก กระทัดรัดแต่ข้อเสียคือจะตัดทอนแสง ลดความคมชัดลงไปบ้าง


๔.เลนส์ซูม(Zoom lens) หมายถึงเลนส์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความยาวโฟกัสได้(Vari focal lens) ภาพที่เกิดขึ้นจะมีขนาดเปลี่ยนแปลง เมื่อเปลี่ยนทางยาวโฟกัส กล่าวคือภาพจะมีขนาดเล็กสุด เมื่อทางยาวโฟกัสสั้นที่สุด เหมาะสำหรับใช้ถ่ายภาพที่ต้องการให้เห็นภาพกว้างๆ และในบางครั้งต้องการเน้นให้เห็นภาพเฉพาะ ความคมชัดของภาพถ่ายที่ใช้ความยาวโฟกัสยาว ปัจจุบันเลนส์ซูมแต่ละตัวจะมีความยาวโฟกัสต่างระยะกันประมาณ 2-6 เท่า เช่น เลนส์ซูมขนาด 43-86 มม., 70-250 มม., 85-300 มม. , 800-1200 มม. เป็นต้น

๕.เลนส์ ถ่ายใกล้หรือเลนส์แมโคร (Macro lens) คำว่า “Macro” เป็นคำที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพวัตถุที่อยู่ใกล้เลนส์มากๆ (Close-up photography) เป็นเลนส์ที่สามรถถ่ายภาพโดยให้กล้องเข้าใกล้วัตถุที่ต้องการถ่ายได้เกิน 1- 1ฝ ฟุต สามารถปรับระยะชัดได้ ช่วยขยายวัตถุที่เล็กให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เลนส์ชนิดนี้บางทีก็เรียกชื่อว่า เลนส์ไมโคร (Micro lens) เลนส์แมโครความยาวโฟกัส 55 มม. ขยายภาพได้ 1:2 ส่วนเลนส์แมโคร 60 มม. ขยายภาพได้ 1:1 แต่ถ้าต้องการถ่ายภาพให้มีขนาดใหญ่กว่านี้ ก็อาจใช้ร่วมกับท่อต่อ (Extention tube) หรือ ส่วนพับยืด (Bellows) ภาพถ่ายก็จะมีกำลังขยายมากขึ้น

ความไวเลนส์ (Lens speed)
...."ความไวเลนส์ หมายถึง ความกว้างของขนาดช่องรับแสงของเลนส์แต่ละตัวเมื่อเปิดกว้างสุดซึ่งมีผลทำให้ สามารถรับแสงขณะถ่ายภาพได้มากน้อย ช้าหรือเร็วแตกต่างกัน
ขนาดความกว้างสุดของช่องรับแสงของเลนส์แต่ละตัวจะมีตัวเลขบอกขนาดค่าของ f/value กำกับไว้ที่วงแหวนหน้าเลนส์ เช่น F/1.4, F/2.8 หรือ F/3.5 เป็นต้น


ค่าตัวเลข f/value
....หมายถึงอัตราส่วนระหว่างทางยาวโฟกัสของเลนส์กับเส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดช่อง รับแสง f/value = ความยาวโฟกัสของเลนส์ (Focal length) / เส้นผ่าศูนย์กลางของขนาดช่องรับแสง (Diameter of aperture) เช่นเลนส์มาตรฐานมีความยาวโฟกัส 50 มม. มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของช่องรับแสงกว้างสุด 35 มม. จะมีตัวเลข f/value = 50/35 = 1.4 นั่นคือ ความไวเลนส์ = 1.4 เป็นต้น
เลนส์ที่มีขนาดใหญ่ จะเพิ่มค่าตัวหารทำให้ค่า f/value น้อยลง เช่น f=1.2 แสงที่จะเข้าไปในกล้องย่อมมีมากขึ้น เรียกได้ว่าเลนส์ตัวนั้นมีความไวเลนส์สูงตรงกันข้าม เลนส์ที่มีค่า f/value สูง เช่น f=2.8 แสงย่อมเข้าไปในกล้องได้น้อยกว่า เรียกว่า เลนส์มีความไวเลนส์ต่ำ


ไดอะเฟรม (Diaphragm)
...."ในตัวเลนส์ของกล้องถ่ายภาพ จะมีที่ควบคุมปริมาณของแสง ให้แสงผ่านเลนส์ไปยังฟิล์มได้มากหรือน้อย ตามความต้องการเรียกว่าไดอะแฟรม ซึ่งมีลักษณะเป็นผอ่นโลหะสีดำบางๆ หลายๆ แผ่นเรียงซ้อนกันเป็นกลีบ มีช่องตรงกลาง สามารถปรับให้กว้างหรือแคบได้ เรียกว่า ช่องรับแสง (Aperture)
การปรับขนาดช่องรับแสงให้หมุนวงแหวนที่ขอบนอกของเลนส์ ซึ่งจะมีตัวเลขแสดงค่าความกว้างหรือแคบ ได้แก่ 1.4, 2, 2.8 , 4 , 5.6 , 8 , 11 , 16 , 22 เป็นต้น เรียกตัวเลขเหล่านี้ว่า เลขเอฟ (f-number) หรือ เอฟสตอป (f-stop) ตัวเลขที่มีค่าน้อยเช่น 1.4 ช่องรับแสงจะเปิดกว้าง แสงผ่านเข้าไปได้มาก และตัวเลขที่มีค่ามาก เช่น 22 ช่องรับแสงจะเปิดแคบ แสงผ่านเข้าไปได้น้อย
การปรับค่าของตัวเลขเอฟจากตัวเลขตัวหนึ่งไปยังเลขเอฟอีกตัวหนึ่ง เช่น เมื่อลดสตอปจาก f/11 เป็น f/8 ปริมาณความเข้มของการส่องสว่างบนฟิล์มจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ของขนาดเอฟสตอปเดิมคือ f/11 เป็นต้น


ชัตเตอร์ (Shutter)
....."ชัตเตอร์หรือความเร็วชัตเตอร์ (Shutter speed) เป็นกลไกอัตโนมัติที่ใช้สำหรับเปิดและปิดทางที่แสงจะผ่านเข้าไปทำปฏิกิริยา กับฟิล์มตามเวลาที่กำหนด ความเร็วในการเปิดและปิดชัตเตอร์คือเวลาที่ฉายแสง (Exposure time) นั่นเอง ซึ่งคิดเป็นเศษส่วนของวินาทีดังนี้ 1/1 , 1/2 , 1/4 , 1/8 , 1/15 , 1/30 , 1/60 , 1/125, 1/250 , 1/500 , 1/1000 , 1/2000 แต่ตัวเลขที่ปรากฏในวงแหวนที่ขอบนอกของเลนส์ จะบอกค่าความเร็วของชัตเตอร์ไว้เฉพาะตัวเลขที่เป็นส่วนคือ 1 , 2 , 4 , 8 , 16 , 30 , 60 , 125 , 250 , 500 , 1000 , 2000 ตัวเลขที่มีค่าน้อย ชัตเตอร์จะเปิดนานแสงจะเข้าไปในกล้องได้มาก ส่วนตัวเลขที่มีค่ามากชัตเตอร์จะเปิดแล้วปิดเร็ว แสงจะเข้าไปในกล้องได้น้อย เช่น ถ้าตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1 แสงจะเข้าไปในทำปฏิกิริยากับฟิล์มนาน 1 วินาที และถ้าตั้งที่ 250 ชัตเตอร์จะเปิดให้แสงผ่านเป็นเวลา 1/250 วินาที ซึ่งชัตเตอร์จะเปิดและปิดเร็วมาก สำหรับในกล้องถ่ายภาพแบบง่ายๆ ทั่วไปจะมีความเร็วชัตเตอร์กำหนดไว้เพียวระดับเดียวคือประมาณ 1/60 วินาที แต่ในกล้องถ่ายภาพที่มีราคาสูง จะมีความเร็วของชัตเตอร์ที่ปรับได้ตามตัวเลขที่กล่าวมาแล้ว
การตั้งความเร็วชัตเตอร์ จะต้องตั้งให้พอดีกับตัวเลขที่กำหนดความเร็วชัตเตอร์ การเพิ่มหรือลดความเร็วชัตเตอร์ ของตัวเลขที่อยู่ใกล้กันจะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดความเร็วของขัตเตอร์เป็น 2 เท่าของกันและกัน เช่น จากความเร็วชัตเตอร์ 1/30 เป็น 1/15 ก็จะช้าลงเป็น 2 เท่าตัว

..... "ประวัติการถ่ายภาพ

..... " ประวัติการถ่ายภาพ :p

วิชาการถ่ายภาพนั้น ได้มีการพัฒนาต่อเนื่องกันมาหลายร้อยปีตามลำดับ ก่อนที่จะมีกล้องถ่ายภาพเพื่อการบันทึกภาพให้เหมือนจริงนั้นมนุษย์ในสมัย โบราณได้ใช้วิธีการวาดภาพเพื่อบันทึกความทรงจำและใช้ในการสื่อความหมาย ซึ่งการวาดภาพดังกล่าวต้องใช้เวลานานและได้ภาพที่ไม่เหมือนจริงตามธรรมชาติ ตลอดจนปัญหาอื่นๆ ทำให้มนุษย์พยายามคิดค้นหาวิธีการสร้างภาพโดยใช้เวลาให้น้อยลงและให้ได้ภาพ ที่สมบูรณ์เหมือนธรรมชาติยิ่งขึ้น หลังจากที่มนุษย์ประสบความล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า จนในที่สุดในศตวรรษที่ 19 มนุษย์ก็ประสบความสำเร็จในการคิดค้นกระบวนการสร้างภาพ จากผลของการทดลองของนักวิทยาศาสตร์ที่ได้พัฒนาความรู้จากศาสตร์ 2 สาขา คือ สาขาฟิสิกส์ ได้แก่เรื่องของแสงและกล้องถ่ายภาพ และสาขาเคมี ในส่วนที่เกี่ยวกับฟิล์มสารไวแสงและน้ำยาสร้างภาพ
การถ่ายภาพเป็นการรวมหลักการที่สำคัญ 2 ประการเข้าด้วยกันคือ การทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ปรากฏบนฉากรองรับได้และการ ใช้สื่อกลาง ในการบันทึกภาพจำลองของวัตถุนั้น ให้ปรากฎอยู่ได้อย่างคงทนถาวร
ในหลักการข้อแรก คือการทำให้เกิดภาพจำลองของวัตถุสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ปรากฏบนฉากรองรับได้นั้น อริสโตเติล (Aristotle) นักวิทยาศาสตร์ชาวกรีก ได้บันทึกไว้เป็นครั้งแรกเมื่อ 400 ปีก่อนคริสต์ศักราชว่า ถ้าเราปล่อยให้ลำแสงผ่านเข้าไปทางช่องเล็กๆในห้องมืด แล้วถือกระดาษขาวให้ห่างจากช่องรับแสงประมาณ 15 ซ.ม. จะปรากฏภาพบนกระดาษมีลักษณะเป็นภาพจริงหัวกลับ แต่เป็นภาพที่ไม่ชัดเจนนัก [Ibid.]
จากหลักการนี้ต่อมาได้มีการประดิษฐ์ เป็นกล้อง ออบสคิวรา (Camera Obscura) ซึ่งเป็นภาษาลาติน แปลว่าห้องมืด นักปราชญ์ชาวอาหรับชื่อ อัลฮาเซน (Alhazen) ได้บรรยายรูปร่างลักษณะของกล้องออบสคิวราไว้ก่อนปี ค.ศ.1039 ว่ามีลักษณะเป็นห้องมืดที่มีรูเล็กๆที่ฝาข้างหนึ่งเมื่อแสงเดินทางผ่านรู เล็กๆ นี้แล้ว สามารถทำให้เกิดภาพจริงหัวกลับบนฝาผนังด้านตรงข้ามได้
ค.ศ.1490 ลิโอนาโด ดา วินซี (Leonardo Da Vinci)
ค.ศ.1550 กิโรลาโม การ์แดโน (Girolamo Gardano)
ค.ศ.1568 แดนีล บาร์บาโร (Daniel Barbaro)
ค.ศ.1568 แดติ (Danti)
ค.ศ.1568 โยฮานน์ สเตอร์ม (Johann Sturm)
ค.ศ.1839 ดาแกร์ (Daguerre)
ค.ศ.1840 ฟอกซ์ ทัลบอท (Fox Tallbot)

หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์ได้พัฒนากล้องออบสคิวราจนสมบูรณ์แบบใน ต้นศตวรรษที่ 17 แล้ว นักวิทยาศาสตร์สาขาเคมีก็ได้คิดค้นสื่อกลางในการบันทึกภาพจำลองของวัตถุ ต่างๆ ให้ปรากฎอยู่ได้อย่างคงทนถาวร ตามลำดับดังนี้
ค.ศ. 1727 โยฮัน เฮนริช ชุลตช์ (Jonhann Heinrich Schulze)
ค.ศ. 1777 คาร์ล วิลเลี่ยม ชีล (Carl William Scheele)
ค.ศ. 1826 โจเซฟ เนียพฟอร์ เนียพซ์ (Joseph Nicephore Niepce)
ค.ศ. 1837 หลุยส์ จาคเคอร์ แมนเดดาแกร์ (Louis Jacque Mande Daguerre)
ค.ศ. 1840 วิลเลี่ยม เฮนรี่ ฟอกซ์ ทัลบอท (William Henry Fox Talbot)
ค.ศ. 1839 เซอร์ จอห์น เฮอร์เชล (Sir John Herschel)
ค.ศ. 1851 เฟรดเดริค สก๊อต อาร์เชอร์ (Frederick Scott Archer)
ค.ศ. 1871 ดร.ริชาร์ด ลีช แมดดอกซ์ (Dr. Richard Leach Maddox)
ค.ศ. 1978 ชาร์ล เบนเนท (Charles Bennet)
ค.ศ. 1873 เฮอร์แมน วิลฮิม โวเกล (Hermann Wilhelm Vogel)
ค.ศ. 1888 ยอร์จ อีสต์แมน (George Eastman)

วิวัฒนาการของวัสดุไวแสงควบคู่ มากับกล้องถ่ายภาพ แม้ว่าในยุคแรกๆ กล้องถ่ายภาพจะมีลักษณะเป็นกล่องไม้สี่เหลี่ยมไม่ประณีตนัก ต่อมาก็ได้พัฒนามาเป็นไม้สักและไม้มะฮ๊อกกานี อุปกรณ์ กลไกประกอบอื่นๆ ก็ทำด้วยทองเหลือง ดูสวยงามขึ้น ในการใช้งาน เช่น การมองภาพ และการปรับความคมชัดก็ใข้ได้สะดวกยิ่งขึ้น ระบบชัตเตอร์ควบคุมปริมาณแสงก็สามารถทำงานได้ถูกต้องแม่นยำ มีการปรับปรุง ให้ฟิล์มมีความไวแสงสูงขึ้นและมีขนาดเล็กลง ในปี ค.ศ. 1925 บริษัท อี.ไลซ์ (E.Leiz) แห่งประเทศเยอรมัน ได้ผลิตกล้อง ไลก้า 1 (Leica 1) ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้กับฟิล์มขนาด 35 มม. ที่สมบูรณ์เป็นตัวแรก
ขณะเดียวกันกับที่มีการผลิตกล้องออก จำหน่ายอย่างแพร่หลาย เลนส์ที่นำมาใช้กับกล้องก็มีการพัฒนาควบคู่มาโดยลำดับ เริ่มจากยุคแรกๆ ที่กล้องใช้เพลทเคลือบสารไวแสง จะใช้เลนส์แบบง่ายๆ มีช่องรับแสงกว้างสุดเพียง f/16 จนในปี ค.ศ. 1940 การผลิตเลนส์ก็มีการพัฒนาขึ้น เลนส์หนึ่งตัวอาจมีแก้วเลนส์หลายชั้น ทำหน้าที่ได้มากขึ้น มีการเคลือบน้ำยาบนผิวหน้าของแก้วเลนส์ ทำให้เลนส์มีคุณภาพในการรับแสงมากขึ้น และยังช่วยลดแสงสะท้อนให้น้อยลง
การมองภาพและการปรับความคมชัดของกล้อง ถ่ายภาพโดยใช้ระบบสะท้อนภาพ นับได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและเป็นต้นแบบในการผลิตกล้องในปัจจุบัน โดยในปี ค.ศ. 1860 โธมาส ซัทตัน (Thomas Sutton) ช่างภาพชาวอังกฤษ ใช้กระจกเงาช่วยในการสะท้อนภาพให้ปรากฏบนจอมองภาพ และได้พัฒนาแนวคิดใช้ปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) ทำหน้าที่สะท้อนภาพให้เห็นตามความเป็นจริงได้ในระดับสายตา กล้องแบบสะท้อนเลนส์เดี่ยวขนาด 35 มม. กล้องแรก แนะนำในปี ค.ศ. 1937 คือกล้อง คิเน่ เอ็กแซกต้า (Kine Exacta) และกล้องที่ใช้กับฟิล์มขนาด 2 นิ้ว แนะนำครั้งแรกในปี ค.ศ. 1950 คือกล้อง ฮาสเซลแบลด (Hasselblad) ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิตกล้อง แบบสะท้อนเลนส์เดี่ยว (Single Lens Refles - SLR) จนเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลกในปัจจุบัน