Powered By Blogger

ค้นหาบล็อกนี้

คุณมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับ blog นี้???

วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

......." อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ

อุปกรณ์ในการถ่ายภาพ

1. ตัวกล้อง (Body) ทำหน้าที่เป็นห้องมืดป้องกันแสงภายนอกเข้าไปถูกฟิล์มที่บรรจุอยู่ภายในและเป็นที่ยึดส่วนประกอบ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยในการถ่ายรูป

2. เลนส์ (Lens) ทำหน้าที่รับแสงสะท้อนจากวัตถุส่งไปยังฟิล์มที่บรรจุอยู่ในตัวกล้องฟิล์มจะบึนทึกภาพเอาไว้ กล้องบางชนิดสามารถถอด เปลี่ยนเลนส์ได้ตามความต้องการ เช่น กล้องประเภท SLR (Single len Reflex) หรือเรียกว่ากล้องสะท้อนเลนส์เดี่ยว เลนส์จะผนึกอยู่ข้างหน้าตัวกล้องซึ่งจะมีขนาดความยาวโฟกัสแตกต่างกัน เช่น 50 มม. 35 มม. 105 มม. เป็นต้น

3. ช่องมองภาพ (View Finder) ปกติช่องมองภาพจะอยู่ทางด้านหลังของตัวกล้อง เป็นจอมองภาพเพื่อช่วยในการประกอบ และจัดองค์ประกอบของภาพ ให้มีความสวยงามตามหลักของศิลปะการถ่ายรูป

4. ชัตเตอร์ (Shutter) ทำหน้าที่ควบคุมเวลาฉายแสง (Exposure Time) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไวของชัดเตอร์ (Shutter Speed)

5. แผ่นไดอะแฟรม (Diaphram) ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณความเข้มของการส่องสว่างของแสงที่ตกลงบนแผ่นฟิล์ม มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ หลายๆ แผ่นซ้อนเหลี่ยมกันอยู่

6. รูรับแสง (Aperture) เป็นรูเปิดของแผ่นไดอะแฟรมให้มีขนาดต่างๆ ตามต้องการ เช่น เมื่อต้องการให้แสงเข้ามากก็เปิดรูรับแสงให้มีขนาดใหญ่ และทางตรงกันข้าม ถ้าต้องการให้ปริมาณแสงเข้าไปถูกฟิล์มน้อยก็เปิดรูให้เล็กลง การเปิดขนาดของรูรับแสงแตกต่างกันนี้มีตัวเลขกำหนดเอาไว้ ซึ่งตัวเลขนี้จะเป็นวงแหวน ซึ่งจะติดอยู่ที่ตัวเลนส์เรียกตัวเลขต่างๆ ว่าเอฟสตอป (F-Stop) หรือ เอฟนัมเบอร์(F-Number) นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญๆ ของกล้องถ่ายรูปดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้ควรจะศึกษาปุ่มปรับและควบคุมต่างๆ ที่อยู่บนกล้องถ่ายรูป กล้องทั่วๆ ไปจะมีปุ่มควบคุมดังนี้คือ

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับกล้อง
นอกจากส่วนประกอบที่สำคัญๆ อันเป็นพื้นฐานของกล้องถ่ายรูปแล้วอาจต้องการใช้อุปกรณ์ อื่นๆ ประกอบเพื่อให้ การถ่ายรูปมีคุณภาพยิ่ง อุปกรณ์ต่างๆ มีดังนี้ คือ

1. เครื่องวัดแสง (Exposure light meter) เป็นเครื่องมือที่ช่วยบอกลักษณะของแสงที่พอเหมาะในการถ่ายรูปแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ภาพที่พอดี (Nor-mal) นั่นคือจะบอกหน้ากล้องหรือขนาดของรูรับแสงที่พอเหมาะและความเร็วชัดเตอร์ที่ควรใช้อันสัมพันธ์กับแสงสอดคล้องกับความมุ่งหมายการถ่ายรูปนั้นๆ โดยปกติกล้องถ่ายรูประดับปานกลาง ถึงระดับดี จะมีเครื่องวัดแสงนี้ติดมาพร้อมกับกล้องอย่างไรก็ตามอาจจำเป็นที่ต้องมี เครื่องวัดแสงเฉพาะสำหรับงานบางอย่างก็ได้

2. ขาตั้งกล้อง (Tripod, Camera Supports) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการถ่ายรูปที่ต้องใช้ความไวช้าๆ หรือถ่ายรูปกลางคืนเพราะจะทำให้กล้องมั่นคงได้ภาพที่ไม่ไหวปกติขาตั้งกล้องมีลักษณะ 3 ขา (Tripod) ในบางครั้งอาจใช้ขาเดียว Monopod) รับน้ำหนักก็ได้ หรือมีลักษณะเป็นแท่นรองรับก็สุดแล้วแต่จุดมุ่งหมาย

3. แว่นกรองแสง (Filters) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบกับเลนส์เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามแตกต่างไปจากภาพปกติในการถ่ายรูปสีแว่นกรองแสงจะช่วยควบคุมแสงแก้ไขสี เพิ่มสีและทำภาพพิเศษอื่นๆ ได้ตามความต้องการในบางชนิด เช่นสกายไลท์ (Skylight) ช่วยป้องกันเลนส์ไม่ให้สกปรกหรือเกิดรอยขีดข่วนได้สำหรับการถ่ายรูปขาวดำ ฟิลเตอร์หรือ แว่นกรองแสงก็จะช่วยในการเน้นจุดสนใจของภาพให้ดียิ่งดีขึ้นซึ่งปกติฟิลเตอร์ที่ใช้กับงานถ่ายรูปขาวมีนิยมอยู่5 สีด้วยกัน คือ สีเหลือง สีส้ม สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว

4. สายลั่นไก (Shutter Release Cable) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อเข้ากับปุ่มลั่นไกช่วยลั่นไกชัดเตอร์ โดยให้กล้องรับการกระทบกระเทือนน้อยที่สุดในกรณีที่ตั้งความไวชัดเตอร์ต่ำๆ ปกตินิยมใช้กับการถ่ายรูป วัตถุเล็ก ๆ หรืองานก้อบปี้ ตลอดจนการถ่ายรูปกลางคืน เมื่อจำเป็นต้องใช้ความไวชัดเตอร์ต่ำๆ สายลั่นไก มีความยาวหลายขนาดและบางชนิดอาจมีล็อกเพื่อให้การเปิดหน้ากล้องนานๆ ตามต้องการ

5. ไฟแฟลชอิเลคโทรนิค (Electronic Flash)เป็นอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งของแสงสว่างเพื่อช่วยถ่ายรูป เมื่อแสงไม่พอ เช่น ถ่ายรูปใเวลากลางคืนหรือในห้องที่ไม่ค่อยมีแสงสว่างนอกจากนั้นอาจใช้ไฟแวบนี้ช่วยลดเงาเมื่อถ่ายภายในแสงหลักที่สว่างมากๆ นอกจากนั้นอาจใช้แหล่งแสงสว่างอื่นๆ แทนไฟแวบได้ เช่น ไฟส่อง (Flood) แบบที่ใช้ในห้องถ่ายรูป หรือพวกไฟที่ใช้กับโทรทัศน์ภาพยนตร์ที่เรียกว่าซันกัน (Sun Gun) ก็ได้

6. เลนส์ ฮูด (Lense Hood) เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีแก้วเหมือนเลนส์ชนิดอื่นๆแต่เป็นเพียงกรอบ หรือขอบเพื่อสวมเข้าหน้าเลนส์ เพื่อกันการสะท้อนของแสงหรือแสงส่องเฉียงที่ไม่ต้องการมากระทบผิวหน้าเลนส์เลนส์ฮูดอาจทำด้วยโลหะหรือยางมีขนาดแตกต่างกันตามความยาวโฟกัสของเลนส์และรัศมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ของเลนส์ที่ใช้

7. กระเป๋ากล้อง ( Case) เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะสวมใส่กล้องไว้ตลอด เพราะป้องกันการขูดขีดของตัวกล้อง และเลนส์เป็นอย่างดียิ่งกว่านั้นป้องกันการกระทบกระเทือนได้อีกด้วยกระเป๋ากล้องอาจเป็นหนังชนิดแข็ง

8. เครื่องขับเคลื่อนฟิล์มโดยอัตโนมัติ (Motor Drive,Autowinder) อุปกรณ์ชิ้นนี้อาจไม่จำเป็นในการถ่ายรูปปกติ เพราะมีเวลาในการเลื่อนฟิล์มด้วยตนเอง แต่สำหรับงานอาชีพที่ต้องการบันทึกภาพติดต่อกันในเวลาสั้นๆ ถ้ามัวเคลื่อนฟิล์มอยู่อาจพลาดภาพนั้นๆ ได้ ดังนั้นจึงมีอุปกรณ์นี้ี่ช่วย ในการเลื่อนฟิล์มโดยอัตโนมัตินี้ โดยผู้ใช้เพียงกดปุ่มถ่ายภาพฟิล์มจะเลื่อนโดยอัตโนมัติบางชนิดจะเลื่อนวินาทีละ 5 ภาพหรือบางชนิดอาจต่ำกว่านั้น

9. กระเป๋าเก็บกล้อง และอุปกรณ์อื่นๆ (Baggage) เป็นกระเป๋าเอนกประสงค์ที่สามารถบรรจุกล้องและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ นำไปใช้ถ่ายรูปได้นอกจากนั้นยังช่วยป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี สามารถเก็บกล้องและรักษาฟิล์มได้ด้วย กระเป๋าบางชนิดอาจทำเป็นกล่องอะลูมิเนียมบุด้วยฟองน้ำกันการกระเทือน บางชนิดทำด้วยผ้าร่มสักหลาดหรือผ้าใบ และบางชนิดยังสามารถป้องกันน้ำเข้าไปในกระเป๋าได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น